สาขา : เหมืองแร่
วิชา : Mineral Processing II
เนื้อหาวิชา : 480 : Theory and practice of froth flotation
ข้อที่ 1 :
- กรรมวิธีลอยแร่ (Flotation) อาศัยความแตกต่างของคุณสมบัติทางด้านใดของอนุภาคแร่และมลทินอื่น ๆ ที่เจือปนอยู่
- 1 : ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (Relative Density)
- 2 : การเปียกน้ำที่ผิวอนุภาคแร่ (Wettability)
- 3 : ความซึมซาบแม่เหล็ก (Magnetic Susceptibility)
- 4 : ความสามารถที่จะละลาย (Solubility)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 2 :
- ข้อใดที่ไม่ได้เป็นปรากฏการณ์เชิงผิว (Interfacial phenomena) ของอนุภาคที่เกียวข้องกับการลอยแร่
- 1 : ความตึงผิว (Surface Tension)
- 2 : ชั้นไฟฟ้าคู่ (Electrical Double Layer)
- 3 : การเปียกน้ำ (Wettability)
- 4 : การดูดแนบ (Adsorption)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 3 :
- แร่ชนิดใดที่มีคุณสมบัติไม่เปียกน้ำ (Hydrophobicity) และสามารถลอยได้เองตามธรรมชาติ
- 1 : ถ่านหิน (Coal)
- 2 : เฟลด์สปาร์ (Feldspar)
- 3 : สฟาเลอไรต์ (Sphalerite)
- 4 : ฟลูออไรต์ (Fluorite)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 4 :
- แร่ชนิดใดที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มแร่ออกไซด์ (Oxides)
- 1 : ฮีมาไทต์ (Hematite)
- 2 : เฟลด์สปาร์ (Feldspar)
- 3 : สฟาเลอไรต์ (Sphalerite)
- 4 : ฟลูออไรต์ (Fluorite)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 5 :
- แร่ชนิดใดที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มแร่ซิลิเกต (Silicates)
- 1 : ฮีมาไทต์ (Hematite)
- 2 : เฟลด์สปาร์ (Feldspar)
- 3 : สฟาเลอไรต์ (Sphalerite)
- 4 : ฟลูออไรต์ (Fluorite)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 6 :
- แร่ชนิดใดที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มแร่ซัลไฟด์ (Sulfides)
- 1 : ฮีมาไทต์ (Hematite)
- 2 : เฟลด์สปาร์ (Feldspar)
- 3 : สฟาเลอไรต์ (Sphalerite)
- 4 : ฟลูออไรต์ (Fluorite)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 7 :
- แร่ชนิดใดที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มแร่ที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้เล็กน้อย (Sparingly Soluble Salt)
- 1 : ฮีมาไทต์ (Hematite)
- 2 : เฟลด์สปาร์ (Feldspar)
- 3 : สฟาเลอไรต์ (Sphalerite)
- 4 : ฟลูออไรต์ (Fluorite)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 8 :
- กลุ่มแร่ใดที่ไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มแร่ที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้เล็กน้อย (Sparingly Soluble Salt)
- 1 : คาร์บอเนต (Carbonate)
- 2 : ฟอสเฟต (Phosphate)
- 3 : ซัลเฟต (Sulfate)
- 4 : ซิลิเกต (Silicate)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 9 :
- ไอออนชนิดใดเป็นไอออนกำหนดศักย์ไฟฟ้า (Potential Determining Ions) ของแบไรต์ (Barite; BaSO4)
- 1 : Ba2+
- 2 : SO4 2-
- 3 : Ba2+ และ SO4 2-
- 4 : H+ และ OH-
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 10 :
- สารเคลือบผิวอนุภาค (Collector) ชนิดใดที่เหมาะสำหรับการลอยแร่กลุ่มซัลไฟด์ เช่นกาลีนา
- 1 : อะมีน (Amine, RNH3Cl)
- 2 : แอลคิลซัลฟอเนต (Alkyl Sulfonates, RSO3Na)
- 3 : โซเดียมโอลิเอต (Sodium Oleate, RCOONa)
- 4 : แซนเทต (Xanthate, ROCSSNa)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 11 :
- สารเคลือบผิวอนุภาค (Collector) ชนิดใดที่เหมาะสำหรับการลอยแร่ที่มีความสามารถลอยได้ตามธรรมชาติสูง เช่น ถ่านหิน แกรไฟต์ โมลิบดีไนต์ ทัลก์ เป็นต้น
- 1 : น้ำมันดีเซล หรือ น้ำมันก๊าด (Fuel Oil or Kerosene)
- 2 : แอลคิลซัลฟอเนต (Alkyl Sulfonates, RSO3Na)
- 3 : โซเดียมโอลิเอต (Sodium Oleate, RCOONa)
- 4 : แซนเทต (Xanthate, ROCSSNa)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 12 :
- ข้อใดไม่ใช้ลักษณะการดูดแนบทางฟิสิกส์ (Physical Adsorption) ที่เกิดขึ้นบนผิวอนุภาคแร่
- 1 : การดูดแนบด้วยแรงทางไฟฟ้าสถิต (Electrostatic)
- 2 : อัตราความเร็วของการดูดแนบ (Adsorption Rate) สูง
- 3 : มักแนบซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น (Multilayer)
- 4 : แนบติดแล้วติดเลยไม่กลับไปกลับมา (Irreversible)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 13 :
- ข้อใดไม่ใช้ลักษณะการดูดแนบทางเคมี (Chemical Adsorption or Chemisorption) บนผิวอนุภาคแร่
- 1 : แนบกันด้วยแรงแวนเดอร์วาลส์ (van der Waals)
- 2 : อัตราความเร็วในการดูดแนบ (Adsorption Rate) ต่ำ
- 3 : มักดูดแนบเพียงชั้นเดียว (Monolayer)
- 4 : แนบแล้วเนบติดเลยไม่กลับไปกลับมา (Irreversible)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 14 :
- หน้าที่ของสารเคลือบผิวแร่ (Collector or Promoter) คือ
- 1 : เคลือบผิวแร่ไม่ให้เปียกน้ำ และเกาะติดกับฟองอากาศได้ง่าย
- 2 : เคลือบผิวแร่ให้เปียกน้ำ และเกาะติดกับฟองอากาศได้ง่าย
- 3 : เคลือบผิวแร่ไม่ให้เปียกน้ำ และเกาะติดกับฟองอากาศได้ยาก
- 4 : เคลือบผิวแร่ให้เปียกน้ำ และเกาะติดกับฟองอากาศได้ยาก
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 15 :
- สารประกอบอินทรีย์ชนิดใดที่ไม่ใช่สารเคลือบผิวแร่ (Collector or Promoter)
- 1 : น้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Oil)
- 2 : น้ำมันก๊าด (Kerosene)
- 3 : น้ำมันสน (Pine Oil)
- 4 : สารสกัดจากน้ำมันปาล์ม (Palm Oil)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 16 :
- สารเคลือบผิวแร่ชนิดใดที่ไม่แตกตัว (Non-ionizing ) ในน้ำ หรือไม่มีขั้ว
- 1 : น้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Oil)
- 2 : สารสกัดจากน้ำมันปาล์ม (Palm Oil)
- 3 : อะมีน (Amine, RNH3Cl)
- 4 : แอลคิลซัลฟอเนต (Alkyl Sulfonates, RSO3Na)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 17 :
- สารเคลือบผิวแร่ชนิดใดอยู่ในตระกูลออกซิไฮดริล (Oxyhydryl)
- 1 : แซนเทต (Xanthate, ROCSSNa)
- 2 : ไดไทโอฟอสเฟต (Dithiophosphate,(RO)2PSSNa)
- 3 : แอลคิลซัลฟอเนต (Alkyl Sulfonates, RSO3Na)
- 4 : ไทโอคาร์เบนิไลด์ (Thiocarbanilide: (C6H5NH)2CS)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 18 :
- สารเคลือบผิวแร่ชนิดใดอยู่ในตระกูลซัลฟิดริล (Sulphydryl)
- 1 : แอลคิลซัลฟอเนต (Alkyl Sulfonates, RSO3Na)
- 2 : แซนเทต (Xanthate, ROCSSNa)
- 3 : แอลคิลซัลเฟต (Alkyl Sulphates, ROSO3Na)
- 4 : โซเดียมโอลิเอต (Sodium Oleate, RCOONa)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 19 :
- สารประกอบอินทรีย์ชนิดใดที่เป็นสารเคลือบฟองอากาศ (Frother)
- 1 : น้ำมันปาล์ม (Palm Oil)
- 2 : น้ำมันสน (Pine Oil)
- 3 : น้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Oil)
- 4 : น้ำมันก๊าด (Kerosene)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 20 :
- สารเคลือบผิวแร่ชนิดกรดไขมัน (Fatty Acid) สกัดมาจากน้ำมันชนิดใด
- 1 : น้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Oil)
- 2 : น้ำมันก๊าด (Kerosene)
- 3 : น้ำมันสน (Pine Oil)
- 4 : น้ำมันปาล์ม (Palm Oil)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 21 :
- แร่ชนิดใดที่มี Polarity สูงสุด
- 1 : แร่ซัลไฟด์
- 2 : แร่ซิลิเกต
- 3 : แร่คาร์บอเนต
- 4 : แร่ออกไซด์
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 22 :
- การลอยแร่มลทินขึ้นมา และให้หัวแร่จมอยู่ในเซลล์ลอยแร่ เรียกว่า การลอยแร่แบบใด
- 1 : Direct flotation
- 2 : Reverse flotation
- 3 : Bulk flotation
- 4 : Differential flotation
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 23 :
- จากสูตรโครงสร้างของ Potassium ethyl xanthate ส่วนใดที่แตกตัวเป็นไอออนบวกเมื่อละลายน้ำ
- 1 : H+
- 2 : S+
- 3 : K+
- 4 : C+
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 24 :
- จากสูตรโครงสร้างของ Potassium ethyl xanthate ส่วนใดที่เป็นส่วนที่เรียกว่า ส่วน Non-polar
- 1 : (1)
- 2 : (2)
- 3 : (3)
- 4 : (4)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 25 :
- จากสูตรโครงสร้างของ Potassium ethyl xanthate ส่วนใดที่เป็นส่วนที่เรียกว่าส่วน Polar
- 1 : (1)
- 2 : (2)
- 3 : (3)
- 4 : (4)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 26 :
- สารเคลือบผิวชนิดใดที่มีสมบัติเป็นสารเคลือบฟองอากาศด้วย
- 1 : กรดโอลิอิค
- 2 : แซนเทต
- 3 : ไดไทโอฟอสเฟต
- 4 : แอมีน
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 27 :
- ในกรณีใช้โซเดียมไซยาไนด์เป็นสารกดแร่ เช่น แร่ไพไรต์ ของระบบการลอยแร่ ควรจะต้องควบคุมค่า pH ประมาณเท่าใด
- 1 : 8-9
- 2 : 3-4
- 3 : 5-6
- 4 : 7
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 28 :
- เทคนิคในการลอยแร่เซอร์รัสไซต์ (PbCO3) คือ ข้อใด
- 1 : ใช้สารเคลือบผิวชนิดโซเดียมโอลิเอตใช้ pH 8
- 2 : ต้องปรับสภาพผิวเป็นซัลไฟด์ด้วยวิธีซัลฟิไดซ์เซชัน
- 3 : ต้องใช้แอมีนเป็นสารเคลือบผิวโดยใช้ pH 3-4
- 4 : ต้องใช้คอบเปอร์ซัลเฟตปรับสภาพผิวแร่ก่อนลอย
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 29 :
- ในกรณีต้องการลอยแร่ไพไรต์ ให้ได้ Recovery สูง จะใช้เทคนิคอย่างไร
- 1 : ปรับสภาพผิวด้วยคอปเปอร์ซัลเฟตก่อนลอยแร่
- 2 : ต้องผ่านการซัลฟิไดซ์ผิวก่อน
- 3 : ต้องปรับ pH ของสารละลายเป็นด่างแก่
- 4 : ต้องปรับ pH ของสารละลายเป็นกรดแก่
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 30 :
- สิ่งใดที่ทำให้สภาพศักย์ไฟฟ้าที่ผิวแร่เปลี่ยนได้ เมื่ออยู่ในระบบสารละลาย
- 1 : pH
- 2 : ไอออนจากเกลือของโลหะ
- 3 : ชนิดของสารเคลือบผิว
- 4 : สารเคลือบฟองอากาศ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 31 :
- ข้อใดไม่ใช่ตัวแปรของการทดลองลอยแร่
- 1 : ชนิดและปริมาณสารเคมี
- 2 : pH
- 3 : ความเข้มข้นของของแข็งในเซลล์ลอยแร่
- 4 : อุณหภูมิ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 32 :
- เซลล์ลอยแร่ชนิดที่ไม่มีใบพัดกวน คือ ข้อใด
- 1 : เครื่องลอยแร่แบบคอลัมน์
- 2 : เครื่องลอยแร่แบบ Wemco
- 3 : เครื่องลอยแร่แบบเด็นเวอร์
- 4 : เครื่องลอยแร่แบบ Sub aeration
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 33 :
- วัตถุประสงค์ของการลอยแร่เป็นขั้นตอน ได้แก่ Rougher, Scavenger และ Cleaner คือข้อใด
- 1 : ต้องการเพิ่มเกรดของหัวแร่
- 2 : ต้องการเก็บแร่มีค่าเพิ่มขึ้น
- 3 : ต้องการเพิ่มผลิต
- 4 : ต้องการลคค่าใช้จ่าย
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 34 :
- กราฟข้อใดที่ถูกต้อง
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 :
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 35 :
- วงจรการบดแร่ที่เหมาะสมสำหรับการลอยแร่ ควรประกอบด้วย
- 1 : บดแร่ให้ละเอียดมากที่สุด
- 2 : สามารถได้แร่จากการบดมีขนาดสม่ำเสมอในช่วงแคบๆ (Closed size)
- 3 : สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยสุด
- 4 : บดแร่ให้มีขนาดกระจายตัวในช่วงกว้าง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 36 :
- ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่การลอยแร่ในปัจจุบันมักยึดหลักว่าลอยเอาแร่ออกที่ขนาดเม็ดแร่ใหญ่สุดเท่าที่เป็นไปได้
- 1 : ค่าใช้จ่ายในการบดต่ำ
- 2 : ปริมาณการเก็บแร่ได้สูง
- 3 : มีแร่ฝุ่นน้อย
- 4 : ได้หัวแร่เกรดสูง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 37 :
- ในการลอยแร่ถ่านหิน ควรเลือกใช้สารเคลือบผิวแร่ชนิดใด
- 1 : Kerosene
- 2 : Alcohol
- 3 : Xanthate
- 4 : Oleic acid
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 38 :
- จากสูตรโครงสร้างต่อไปนี้ เป็นสารเคลือบผิวแร่ (Collector) ประเภทใด
- 1 : Fatty acid
- 2 : Carbonyl
- 3 : Xanthate
- 4 : Sulphate
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 39 :
- สารเคลือบผิวแร่ ในกระบวนการลอยแร่ที่มีลักษณะเป็น Heteropolar คืออะไร
- 1 : โมเลกุลมีขนาดเล็กมาก
- 2 : โมเลกุลประกอบด้วยกลุ่มโทลาร์ที่ตรงข้ามกัน
- 3 : โมเลกุลประกอบด้วยกลุ่มโพลาร์และนอนโพลาร์ไฮโดรคาร์บอน
- 4 : โมเลกุลมีลักษณะใหญ่ผิดปกติ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 40 :
- ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับส่วนที่เป็นนอนโพลาร์ของ Collector ในการลอยแร่
- 1 : ถ้าใช้มากอาจฟอร์มในรูปของ double layer บนอนุภาคแร่
- 2 : ยิ่งใช้มากยิ่ง selectivity สูงขึ้น
- 3 : Selectivity ต่ำลงหากโซ่ยาวขึ้น
- 4 : โซ่ยาวละลายน้ำยาก
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 41 :
- Differential Flotation คืออะไร
- 1 : เป็นการลอยแร่แบบเจาะจงเฉพาะแร่
- 2 : เป็นการลอยแร่ขึ้นมาทีละหลายๆ ชนิด
- 3 : เป็นการลอยแร่ที่ไม่ต้องการขึ้นมา
- 4 : เป็นการลอยเอาหางแร่ขึ้นมา
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 42 :
- PZC หรือ Point of Zero Charge สัมพันธ์กับข้อใด
- 1 : ถ้า H+ ในน้ำน้อยกว่าค่าที่ PZC ทำให้ผิวอนุภาคนั้นมีประจุลัพธ์เป็นบวก
- 2 : ถ้า H+ ในน้ำสูงเกินกว่าค่าที่ PZC ทำให้ผิวอนุภาคนั้นมีประจุลัพธ์เป็นศูนย์
- 3 : ถ้าค่า pH ต่ำกว่า pH ของ PZC เมื่อเติมอนุภาคออกไซด์ลงไปทำให้ pH สูงขึ้น
- 4 : ถ้าค่า pH สูงกว่า pH ของ PZC เมื่อเติมอนุภาคออกไซด์ลงไปทำให้ pH สูงขึ้น
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 43 :
- ในการลอยแร่ด้วย Flotation column สิ่งใดที่สามารถทำให้เกรดของหัวแร่สูงขึ้นได้
- 1 : ฟองอากาศมีขนาดเล็กลง
- 2 : ใช้สารเคลือบฟองอากาศมากขึ้น
- 3 : เพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของคอลัมน์
- 4 : สเปรย์น้ำล้างหัวแร่ที่ลอยขึ้นมา
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 44 :
- จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องบดแร่ให้แตกตัวเป็นอิสระ (Liberated) ทั้งหมดก่อนก่อนการลอยแร่
- 1 : ไม่จำเป็น เพราะเสียค่าใช้จ่ายสูง
- 2 : จำเป็น เพราะจะได้ลอยแร่ได้หัวแร่เกรดสูง
- 3 : ไม่จำเป็น เพราะจะทำให้หัวแร่ที่ได้มีเกรดสูง
- 4 : จำเป็น เพราะการลอยแร่ต้องใช้ขนาดของแร่ละเอียดอยู่แล้ว
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 45 :
- ในแหล่งแร่แหล่งหนึ่ง ถ้ามีสินแร่ 3 ชนิด ได้แก่ ดีบุก ไพไรต์ และบอร์ไนต์ ท่านควรเลือกเครื่องแต่งแร่ในหัวข้อใด เพื่อแต่งแร่เหล่านี้
- 1 : High tension separator and magnetic separator
- 2 : Flotation cells
- 3 : Shaking table
- 4 : Selective flocculation
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 46 :
- สิ่งใดที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของ Oleic acid ที่ใช้ในการลอยแร่ได้อย่างไร
- 1 : เพิ่มความเข้มข้น
- 2 : เพิ่มฟองอากาศ
- 3 : เพิ่มอุณหภูมิของเซลล์ลอยแร่
- 4 : เพิ่ม pH
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 47 :
- ข้อใดเปรียบเทียบ Polarity ของแร่ได้ถูกต้อง
- 1 : Galena > Barite > Zircon
- 2 : Quartz > Stibnite > Anglesite
- 3 : Malachite > Gypsum > Feldspar
- 4 : Ilmenite > Cerussite > Pyrite
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 48 :
- ข้อใดต่อไปนี้กล่าวผิด เกี่ยวกับมุมสัมผัสในการลอยแร่
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 :
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 49 :
- การแต่งแร่เฟลด์สปาร์นิยมลอยแร่ในสภาวะที่เป็นกรด ซึ่งแบ่งออกเป็น3 ขั้นตอนดังนี้คือ ขั้นที่ 1 ทำการลอยไมกาขึ้นมาก่อน จากนั้นนำแร่ส่วนที่เหลือมาลอยเพื่อแยกเอาแร่ที่มีเหล็กเจือปนออกมาในขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 จะทำการลอยแยกเฟลด์สปาร์ออกจากควอรตซ์ ต่อไป การลอยแร่โดยรวมทุกขั้นตอนเรียกว่า
- 1 : การลอยแร่แบบตรง (Direct Flotation)
- 2 : การลอยแร่แบบตรงกันข้าม (Reverse Flotation)
- 3 : การลอยแร่แบบเลือกเฉพาะเจาะจง (Differential Flotation)
- 4 : ไม่ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 50 :
- การแต่งแร่เฟลด์สปาร์นิยมลอยแร่ในสภาวะที่เป็นกรด ซึ่งแบ่งออกเป็น3 ขั้นตอนดังนี้คือ ขั้นที่ 1 ทำการลอยไมกาขึ้นมาก่อน จากนั้นนำแร่ส่วนที่เหลือมาลอยเพื่อแยกเอาแร่ที่มีเหล็กเจือปนออกมาในขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 จะทำการลอยแยกเฟลด์สปาร์ออกจากควอรตซ์ ต่อไป ถามว่าการลอยแร่ขั้นตอนที่ 1 เป็นการลอยแร่แบบไหน
- 1 : การลอยแร่แบบตรง (Direct Flotation)
- 2 : การลอยแร่แบบตรงกันข้าม (Reverse Flotation)
- 3 : การลอยแร่แบบเลือกเฉพาะเจาะจง (Differential Flotation)
- 4 : ไม่ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 51 :
- การแต่งแร่เฟลด์สปาร์นิยมลอยแร่ในสภาวะที่เป็นกรด ซึ่งแบ่งออกเป็น3 ขั้นตอนดังนี้คือ ขั้นที่ 1 ทำการลอยไมกาขึ้นมาก่อน จากนั้นนำแร่ส่วนที่เหลือมาลอยเพื่อแยกเอาแร่ที่มีเหล็กเจือปนออกมาในขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 จะทำการลอยแยกเฟลด์สปาร์ออกจากควอรตซ์ ต่อไป ถามว่าการลอยแร่ขั้นตอนที่ 3 เป็นการลอยแร่แบบไหน
- 1 : การลอยแร่แบบเลือกเฉพาะเจาะจง (Differential Flotation)
- 2 : การลอยแร่แบบตรงกันข้าม (Reverse Flotation)
- 3 : การลอยแร่แบบตรง (Direct Flotation)
- 4 : ไม่ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 52 :
- จากปรากฏการณ์สมดุลการเกาะติดฟองอากาศของอนุภาคของแข็งที่อยู่ในของเหลว ดังรูป สมการใดเป็นสมการของยัง (Young Equation)
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 : ไม่ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 53 :
- จากปรากฏการณ์สมดุลการเกาะติดฟองอากาศของอนุภาคของแข็งที่อยู่ในของเหลวดังรูป สมการใดเป็นสมการของดูปีร์ (Dupre Equation)
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 : ไม่ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 54 :
- จากปรากฏการณ์สมดุลการเกาะติดฟองอากาศของอนุภาคของแข็งที่อยู่ในของเหลวดังรูป สมการใดเป็นสมการของยังและดูปีร์
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 : ไม่ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 55 :
- กลุ่มแร่ใดมีความง่ายสุดในการเปียกน้ำ (Wettability)
- 1 : กลุ่มแร่ซัลไฟด์ (Sulfides)
- 2 : กลุ่มแร่คาร์บอเนต (Carbonates)
- 3 : กลุ่มแร่ออกไซด์ (Oxides)
- 4 : กลุ่มแร่ซิลิเกต (Silicates)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 56 :
- กลุ่มแร่ใดมีลำดับความเป็นขั้ว (Polarity) น้อยที่สุด
- 1 : กลุ่มแร่ซัลไฟด์ (Sulfides)
- 2 : กลุ่มแร่คาร์บอเนต (Carbonates)
- 3 : กลุ่มแร่ออกไซด์ (Oxides)
- 4 : กลุ่มแร่ซิลิเกต (Silicates)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 57 :
- ข้อใดที่เป็นปรากฏการณ์เชิงคอลลอยด์ (Colloidal phenomena) ของอนุภาคที่เกี่ยวข้องกับการลอยแร่
- 1 : การเปียกน้ำ (Wettability)
- 2 : การดูดแนบ (Adsorption)
- 3 : ชั้นไฟฟ้าคู่ (Electrical Double Layer)
- 4 : ความตึงผิว (Surface Tension)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 58 :
- เฟสที่เกี่ยวข้องในกรรมวิธีลอยอนุภาคแร่ได้แก่
- 1 : ของแข็ง
- 2 : อากาศ
- 3 : น้ำ
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 59 :
- จงเขียนสมการความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของพลังงานเสรี (Free Energy Change) กับความตึงผิว (Surface Tension) ทั้งหมดของระบบการลอยอนุภาคแร่
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 :
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 60 :
- จงเขียนสมการความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของพลังงานเสรี (Free Energy Change) กับความตึงผิว (Surface Tension) ระหว่างของเหลวและอากาศ และ มุมสัมผัสของระบบการลอยอนุภาคแร่
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 :
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 61 :
- สารประกอบอินทรีย์ชนิดใดที่ไม่ใช่สารเคลือบฟองอากาศ (Frother)
- 1 : น้ำมันสน (Pine Oil)
- 2 : น้ำมันก๊าด (Kerosene)
- 3 : MIBC (Methyl Isobutyl Carbinol)
- 4 : กรดครีไซลิค (Cresylic Acid)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 62 :
- ข้อใดไม่ถูกต้อง สารเคลือบฟองอากาศที่ดีควรมีคุณสมบัติ
- 1 : ก่อให้เกิดฟองอากาศเยอะ เหนียว
- 2 : ทำให้เกิดความเสถียรของฟองอากาศ (Froth Stability)
- 3 : เป็นสารเคลือบผิวอนุภาคแร่ด้วย
- 4 : ไม่ทำปฏิกริยากับอนุมูลอื่นๆ ที่ละลายอยู่ในของผสมแร่ปนน้ำ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 63 :
- --NH3+ เป็นส่วนประกอบของกลุ่มมีขั้ว (Polar Group) ของสารเคลือบผิวแร่ (Collector) ชนิดใด
- 1 : อะมีน (Amine)
- 2 : ปิโตรเลียมซัลฟอเนต (petroleum Sulphonates)
- 3 : กรดไขมัน (Fatty Acids)
- 4 : แซนเทต (Xanthates)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 64 :
- จากรูปแสดงถึงส่วนประกอบของกลุ่มมีขั้ว (Polar Group) ของสารเคลือบผิวแร่ (Collector) ชนิดใด
- 1 : อะมีน (Amine)
- 2 : ปิโตรเลียมซัลเฟต (Petroleum Sulfates)
- 3 : กรดไขมัน (Fatty Acids)
- 4 : แซนเทต (Xanthates)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 65 :
- จากรูปแสดงถึงส่วนประกอบของกลุ่มมีขั้ว (Polar Group) ของสารเคลือบผิวแร่ (Collector) ชนิดใด
- 1 : ปิโตรเลียมซัลเฟต (Petroleum Sulfates)
- 2 : ปิโตรเลียมซัลฟอเนต (petroleum Sulphonates)
- 3 : กรดไขมัน (Fatty Acids)
- 4 : แซนเทต (Xanthates)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 66 :
- จากรูปแสดงถึงส่วนประกอบของกลุ่มมีขั้ว (Polar Group) ของสารเคลือบผิวแร่ (Collector) ชนิดใด
- 1 : ปิโตรเลียมซัลเฟต (Petroleum Sulfates)
- 2 : ปิโตรเลียมซัลฟอเนต (petroleum Sulphonates)
- 3 : กรดไขมัน (Fatty Acids)
- 4 : แซนเทต (Xanthates)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 67 :
- จากรูปแสดงถึงส่วนประกอบของกลุ่มมีขั้ว (Polar Group) ของสารเคลือบผิวแร่ (Collector) ชนิดใด
- 1 : ปิโตรเลียมซัลฟอเนต (petroleum Sulphonates)
- 2 : กรดไขมัน (Fatty Acids)
- 3 : แซนเทต (Xanthates)
- 4 : ไดไทโอฟอสเฟต (Dithiophosphates)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 68 :
- จากรูปแสดงถึงส่วนประกอบของกลุ่มมีขั้ว (Polar Group) ของสารเคลือบผิวแร่ (Collector) ชนิดใด
- 1 : ปิโตรเลียมซัลฟอเนต (petroleum Sulphonates)
- 2 : กรดไขมัน (Fatty Acids)
- 3 : แซนเทต (Xanthates)
- 4 : ไดไทโอฟอสเฟต (Dithiophosphates)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 69 :
- สารเคลือบผิวแร่ชนิดกรดไขมัน (Fatty Acid) ไม่ได้สกัดมาจากน้ำมันชนิดใด
- 1 : น้ำมันปาล์ม
- 2 : น้ำมันมะพร้าว
- 3 : น้ำมันสบู่ดำ
- 4 : น้ำมันสน
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 70 :
- แซนเทตชนิดใดที่มีความสามารถในการเลือก (Selectivity) ดูดแนบแร่ซัลไฟด์สูงที่สุด
- 1 : Ethyl Xanthate
- 2 : Propyl Xanthate
- 3 : Butyl Xanthate
- 4 : Amyl Xanthate
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 71 :
- แซนเทตชนิดใดที่มีความสามารถในการเลือก (Selectivity) ดูดแนบแร่ซัลไฟด์ต่ำที่สุด
- 1 : Ethyl Xanthate
- 2 : Propyl Xanthate
- 3 : Butyl Xanthate
- 4 : Amyl Xanthate
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 72 :
- สารเคลือบผิวแร่ชนิดใด ที่ไม่อยู่ในตระกูลซัลฟิดริล (Sulphydryl
- 1 : แซนเทต (Xanthate, ROCSSNa)
- 2 : ไดไทโอฟอสเฟต (Dithiophosphates, (RO)2PSSNa)
- 3 : แอลคิลซัลฟอเนต (Alkyl Sulfonates, RSO3Na)
- 4 : ไม่ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 73 :
- สารเคลือบผิวแร่ชนิดใด ที่ไม่อยู่ในตระกูลออกซิไฮดริล (Oxyhydryl)
- 1 : แอลคิลซัลฟอเนต (Alkyl Sulfonates, RSO3Na)
- 2 : แอลคิลซัลเฟต (Alkyl Sulphates, ROSO3Na)
- 3 : แซนเทต (Xanthate, ROCSSNa)
- 4 : โซเดียมโอลิเอต (Sodium Oleate, RCOONa)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 74 :
- สารเคลือบผิวแร่ชนิดไทโอคาร์เบนิไลด์ (Thiocarbanilide: (C6H5NH)2CS) เหมาะสำหรับการลอยแร่กลุ่มไหน
- 1 : กลุ่มแร่คาร์บอเนต (Carbonate)
- 2 : กลุ่มแร่ออกไซด์ (Oxides)
- 3 : กลุ่มแร่ซัลไฟด์ (Sulfides)
- 4 : กลุ่มแร่ซิลิเกต (Silicates)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 75 :
- สารเคลือบผิวแร่ชนิดไดไทโอคาร์เบเมต (Dithiocarbamate: R2NCSSNa) เหมาะสำหรับการลอยแร่กลุ่มไหน
- 1 : กลุ่มแร่คาร์บอเนต (Carbonate)
- 2 : กลุ่มแร่ออกไซด์ (Oxides)
- 3 : กลุ่มแร่ซัลไฟด์ (Sulfides)
- 4 : กลุ่มแร่ซิลิเกต (Silicates)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 76 :
- สารเคลือบผิวแร่ชนิด Mercaptobenzothiazole (RSH) เหมาะสำหรับการลอยแร่กลุ่มไหน
- 1 : กลุ่มแร่คาร์บอเนต (Carbonate)
- 2 : กลุ่มแร่ออกไซด์ (Oxides)
- 3 : กลุ่มแร่ซัลไฟด์ (Sulfides)
- 4 : กลุ่มแร่ซิลิเกต (Silicates)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 77 :
- สารเคลือบผิวแร่ชนิดใดที่เหมาะสำหรับเคลือบผิวแร่ตะกั่วซัลไฟด์ที่ถูกทำให้หมอง (Tarnished) หรือถูกออกซิไดส์ หลังจากได้กระตุ้นผิวแร่ดังกล่าวด้วยตัวเติมซัลไฟด์
- 1 : แซนเทต (Xanthate)
- 2 : ไทโอคาร์เบนิไลด์ (Thiocarbanilide: (C6H5NH)2CS)
- 3 : ไดไทโอคาร์เบเมต (Dithiocarbamate: R2NCSSNa)
- 4 : Mercaptobenzothiazole (RSH)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 78 :
- สารเคลือบผิวแร่ชนิดใดอยู่ในกลุ่มอะมีน (Amine) หมายเหตุ R หมายถึง โซ่ไฮโดรคาร์บอนที่มีอะตอมของคาร์บอนจำนวนตั้งแต่ 8 อะตอมขึ้นไป และ R หมายถึง กลุ่ม Alkyl (CH2) สั้น ๆ โดยทั่วไปเป็นกลุ่ม Methyl
- 1 : RNH3Cl
- 2 : R(R)2NHCl
- 3 : R(R)3NCl
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 79 :
- สารเคลือบผิวแร่ชนิดใดอยู่ในกลุ่มอะมีน (Amine) หมายเหตุ R หมายถึง โซ่ไฮโดรคาร์บอน
- 1 : RCOONa
- 2 : RSO3Na
- 3 : ROSO3Na
- 4 : RNH3Cl
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 80 :
- สารเคลือบผิวชนิดกรดและเกลือของกรดไขมัน ไม่เหมาะแก่การลอยแร่กลุมไหน
- 1 : ซัลไฟด์
- 2 : ซัลเฟต
- 3 : ฟอสเฟต
- 4 : คาร์บอเนต
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 81 :
- ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของสารช่วยปรับสภาพผิวแร่ (Modifying Agents)
- 1 : เคลือบผิวแร่
- 2 : กระตุ้นการเคลือบผิวแร่
- 3 : ป้องกันการเคลือบผิวแร่
- 4 : ปรับสภาพความเป็นกรดเบส
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 82 :
- ข้อใดเป็นสารกระตุ้นการเคลือบผิวแร่ชนิดแคตไอออนิก (Cationic Activators)
- 1 : H2S
- 2 : Na2S
- 3 : NaCN
- 4 : Pb(NO3)2
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 83 :
- ข้อใดไม่ใช่สารกระตุ้นการเคลือบผิวแร่ชนิดแอนไอออนิก (Anionic Activators)
- 1 : H2S
- 2 : Na2S
- 3 : NaF
- 4 : Pb(NO3)2
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 84 :
- ข้อใดเป็นสารกระตุ้นการเคลือบผิวแร่ชนิดแอนไอออนิก (Anionic Activators)
- 1 : Na2S
- 2 : Pb(NO3)2
- 3 : Pb Acetate
- 4 : CuSO4.5H2O
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 85 :
- ข้อใดไม่ใช่สารกระตุ้นการเคลือบผิวแร่ชนิดแคตไอออนิก (Cationic Activators)
- 1 : CuSO4.5H2O
- 2 : Pb(NO3)2
- 3 : Pb Acetate
- 4 : HF
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 86 :
- สารใดเป็นสารปรับสภาพความเป็นกรด
- 1 : ปูนขาว (Lime, CaO. H2O)
- 2 : เถ้าโซดา (Soda Ash, Na2CO3)
- 3 : โซดาไฟ (Sodium Hydroxide, NaOH)
- 4 : กรดกำมะถัน (Sulfuric Acid)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 87 :
- สารใดเป็นสารปรับสภาพความเป็นเบส
- 1 : เถ้าโซดา (Soda Ash, Na2CO3)
- 2 : กรดกำมะถัน (Sulfuric Acid, H2SO4)
- 3 : กรดเกลือ (Hydrochloric Acid, HCl)
- 4 : กรดกัดแก้ว (Hydrofluoric Acid, HF)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 88 :
- สารใดเป็นทั้งสารปรับสภาพความเป็นกรดเบส (pH Regulators) และสารกระตุ้นการเคลือบผิวแร่ (Activator)
- 1 : กรดเกลือ (Hydrochloric Acid, HCl)
- 2 : กรดกัดแก้ว (Hydrofluoric acid, HF)
- 3 : โซดาไฟ (Sodium Hydroxide, NaOH)
- 4 : เถ้าโซดา (Soda Ash, Na2CO3)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 89 :
- กรดชนิดใดไม่เป็นสารกระตุ้นการเคลือบผิวแร่ (Activator)
- 1 : กรดเกลือ (Hydrochloric Acid, HCl)
- 2 : กรดกำมะถัน (Sulfuric Acid, H2SO4)
- 3 : กรดกัดแก้ว (Hydrofluoric acid, HF)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 90 :
- สารประกอบอินทรีย์ใดที่ทำให้ถ่านหินมีคุณสมบัติไม่เปียกน้ำ (Hydrophobicity) และสามารถลอยได้เองตามธรรมชาติ
- 1 : ไฮโดรคาร์บอนเชิงซ้อน(Complex Hydrocarbon)
- 2 : คาร์บอกซิลิก (Carboxylic)
- 3 : ฟิโนลิก (Phenolic)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 91 :
- สารประกอบใดที่ทำให้ถ่านหินมีคุณสมบัติเปียกน้ำ
- 1 : ไฮโดรคาร์บอนเชิงซ้อน(Complex Hydrocarbon)
- 2 : บิทูเมน (Bitumen)
- 3 : คาร์บอกซิลิก (Carboxylic)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 92 :
- ถ่านหินชนิดใดมีความสามารถในการลอยตามธรรมชาติสูงที่สุด
- 1 : พีท (Peat)
- 2 : ลิกไนต์ (Lignite)
- 3 : ซับบิทูมินัส (Sub-bituminous)
- 4 : บิทูมินัส(Bituminous)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 93 :
- ข้อใดไม่ใช่การดูดแนบทางเคมี (Chemisorption) ของสารเคลือบผิวบนแร่ออกไซด์
- 1 : ซัลฟอเนตบนผิวแร่เฮมาไทต์
- 2 : โอลิเอตบนผิวแร่เฮมาไทต์
- 3 : ไฮดรอกซาเมตบนผิวแร่เฮมาไทต์
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 94 :
- ข้อใดเป็นการดูดแนบทางฟิสิกส์ (Physical Adsorption) ของสารเคลือบผิวบนแร่ออกไซด์
- 1 : ซัลฟอเนตบนผิวแร่เฮมาไทต์
- 2 : โอลิเอตบนผิวแร่เฮมาไทต์
- 3 : ไฮดรอกซาเมตบนผิวแร่เฮมาไทต์
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 95 :
- ข้อใดไม่ใช่การดูดแนบทางฟิสิกส์ (Physical Adsorption) ของสารเคลือบผิวบนแร่ออกไซด์
- 1 : อะมีนบนผิวแร่ควอรตซ์
- 2 : ซัลฟอเนตบนผิวแร่เฮมาไทต์
- 3 : โอลิเอตบนผิวแร่เฮมาไทต์
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 96 :
- ข้อใดเป็นสารกระตุ้น (activators) ผิวแร่ควอรตซ์ซึ่งมีประจุลบก่อนที่จะลอยด้วยปิโตรเลียมซัลฟอเนต
- 1 : ตะกั่วอะซิเตด (Lead Acetate)
- 2 : กรดกำมะถัน (H2SO4)
- 3 : กรดกัดแก้ว (HF)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 97 :
- ข้อใดไม่ใช่สารกระตุ้น (activators) ผิวแร่ควอรตซ์ซึ่งมีประจุลบก่อนที่จะลอยด้วยปิโตรเลียมซัลฟอเนต
- 1 : ตะกั่วอะซิเตด (Lead Acetate)
- 2 : กรดกำมะถัน (H2SO4)
- 3 : ปูนขาว (Ca(OH)2)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 98 :
- ข้อใดถูกต้องสำหรับการลอยแร่ฮีมาไทต์ที่มีจุดประจุลัพท์เป็นศูนย์ (PZC) = 6
- 1 : สามารถลอยแร่ฮีมาไทต์ ที่ pH 4 ด้วยแอลคิลซัลเฟต
- 2 : สามารถลอยฮีมาไทต์ขึ้นมาด้วยอามีนที่ pH 8
- 3 : หลังเติม PbCl3 สามารถลอยฮีมาไทต์ขึ้นมาด้วยกรดไขมันที่ pH 8
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 99 :
- แร่ซิลิเกตชนิดใดมีโครงสร้างผลึกแบบโครงสร้าง (Framework)
- 1 : เคโอลิไนต์ (Kaolinite)
- 2 : ทัลก์ (Talc)
- 3 : มัสโคไวต์ (Muscovite)
- 4 : เฟลด์สปาร์(Feldspar)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 100 :
- จากผลการทดลองลอยแร่ควอรตซ์ด้วยสารเคลือบผิวอนุภาคชนิด Decyl Amine (C10) ด้วยปริมาณ 1*10-3 โมล/ลิตร ที่ pH 7 พบว่า สามารถลอยเก็บควอรตซ์ได้ถึง 95% ถ้าต้องการเปลี่ยนสารเคลือบผิวอนุภาคจาก Decyl Amine เป็น Dodecyl Amine (C12) และเก็บควอรตซ์ได้เท่าเดิม จะต้องใช้ Amine ชนิดนี้ในปริมาณ
- 1 : ที่เพิ่มขึ้น
- 2 : เท่าเดิม
- 3 : ลดลงจากเดิม
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 101 :
- จากผลการทดลองลอยแร่ควอรตซ์ด้วยสารเคลือบผิวอนุภาคชนิด Decyl Amine (C10) ด้วยปริมาณ 1*10-3 โมล/ลิตร ที่ pH 7 พบว่า สามารถลอยเก็บควอรตซ์ได้ถึง 95% ถ้าต้องการเปลี่ยนสารเคลือบผิวอนุภาคจาก Decyl Amine เป็น Octyl Amine (C8) และเก็บควอรตซ์ได้เท่าเดิม จะต้องใช้ Amine ชนิดนี้ในปริมาณ
- 1 : เพิ่มขึ้น
- 2 : เท่าเดิม
- 3 : ลดลงจากเดิม
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 102 :
- ก่อนการลอยแร่เฟลด์สปาร์ออกจากควอรตซ์ด้วยโดเดคซิลอะมีน ต้องกระตุ้นผิวแร่เฟลด์สปาร์ด้วย
- 1 : โซเดียมฟลูออไรด์ (Sodium Fluoride, NaF)
- 2 : แคลเซียมฟลูออไรด์ (Calcium Fluoride, CaF2)
- 3 : กรดกัดแก้ว (Hydrofluoric Acid, HF)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 103 :
- ไอออนชนิดใดที่ไม่สามารถกระตุ้นผิวแร่เฟลด์สปาร์ที่ pH 7 และลอยด้วยโซเดียมโอลิเอต
- 1 : Ba2+
- 2 : Ca2+,
- 3 : Pb3+
- 4 : Cl -
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 104 :
- แร่แคลไซต์ (Calcite, CaCO3) เป็นแร่ที่มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้น้อยและถูกจัดอยูในกลุ่มแร่
- 1 : คาร์บอเนต (Carbonate)
- 2 : ฟอสเฟต (Phosphate)
- 3 : ซัลเฟต (Sulfate)
- 4 : ทังสเตต (Tungstate)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 105 :
- อะพาไทต์ (Apatite, Ca5(F, Cl, OH) (PO4)3) เป็นแร่ที่มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้น้อยและถูกจัดอยูในกลุ่มแร่
- 1 : คาร์บอเนต (Carbonate)
- 2 : ฟอสเฟต (Phosphate)
- 3 : ซัลเฟต (Sulfate)
- 4 : ทังสเตต (Tungstate)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 106 :
- แบไรต์ (BaSO4)เป็นแร่ที่มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้น้อยและถูกจัดอยูในกลุ่มแร่
- 1 : คาร์บอเนต (Carbonate)
- 2 : ฟอสเฟต (Phosphate)
- 3 : ซัลเฟต (Sulfate)
- 4 : ทังสเตต (Tungstate)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 107 :
- ชีไลต์ (Scheelite, CaWO4)เป็นแร่ที่มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้น้อยและถูกจัดอยูในกลุ่มแร่
- 1 : คาร์บอเนต (Carbonate)
- 2 : ฟอสเฟต (Phosphate)
- 3 : ซัลเฟต (Sulfate)
- 4 : ทังสเตต (Tungstate)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 108 :
- ฟลูออไรต์ (Fluorite, CaF2)เป็นแร่ที่มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้น้อยและถูกจัดอยูในกลุ่มแร่
- 1 : คาร์บอเนต (Carbonate)
- 2 : ฟอสเฟต (Phosphate)
- 3 : ซัลเฟต (Sulfate)
- 4 : เฮไลด์ (Halide)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 109 :
- ไอออนชนิดใดไอออนกำหนดศักย์ไฟฟ้า (Potential Determining Ions) ของแร่แคลไซต์ (Calcite, CaCO3)
- 1 : H+
- 2 : OH-
- 3 : Ca2+
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 110 :
- ไอออนชนิดใดไอออนกำหนดศักย์ไฟฟ้า (Potential Determining Ions) ของแร่แบไรต์ (BaSO4) )
- 1 : H+
- 2 : OH-
- 3 : Ba2+
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 111 :
- ไอออนชนิดใดไอออนกำหนดศักย์ไฟฟ้า (Potential Determining Ions) ของแร่ชีไลต์ (Scheelite, CaWO4)
- 1 : H+
- 2 : OH-
- 3 : Ca2+
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 112 :
- ไอออนชนิดใดไอออนกำหนดศักย์ไฟฟ้า (Potential Determining Ions) ของแร่ฟลูออไรต์ (Fluorite, CaF2)
- 1 : H+
- 2 : OH-
- 3 : Ca2+
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 113 :
- ในการลอยแร่ที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้น้อยนั้น โซเดียมซิลิเกต (Sodium silicate) ไม่ได้ใช้สำหรับ
- 1 : กดแร่คาร์บอเนต
- 2 : กดฝุ่นแร่ซิลิกา
- 3 : กระจายฝุ่นแร่ซิลิกา
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 114 :
- ในการลอยแร่ที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้น้อยนั้น แทนนินและสารอนุพันธ์ของแทนนิน (Tannin and its Derivatives) นิยมใช้ในการ
- 1 : กดแร่คาร์บอเนต
- 2 : กดฝุ่นแร่ซิลิกา
- 3 : กระจายฝุ่นแร่ซิลิกา
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 115 :
- ความตึงผิว (Surface Tension) คือ
- 1 : พลังงานเสรีของผิวที่เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่สมดุลของแรงระหว่างอะตอมหรือโมเลกุลที่พื้นผิวหนึ่ง ๆ
- 2 : แรงที่กระทำบนพื้นผิวโดยมีทิศทางตั้งฉากและเข้าหาจากพื้นผิวหนึ่ง ๆ
- 3 : งานที่กระทำบนพื้นผิวต่อหน่วยพื้นที่หนึ่ง ๆ
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 116 :
- ปรากฏการณ์ใดที่สอดคล้องกับสมการของลาปาลส์ (Laplace)
- 1 : ฟองสบู่ยิ่งเล็กเท่าใด ความดันภายในฟองสบู่จะมากกว่าความดันแก๊สภายนอก
- 2 : ฟองสบู่ยิ่งเล็กเท่าใด ความดันภายในฟองสบู่จะน้อยกว่าความดันแก๊สภายนอก
- 3 : ฟองสบู่ยิ่งใหญ่เท่าใด ความดันภายในฟองสบู่จะมากกว่าความดันแก๊สภายนอก
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 117 :
- ความตึงผิว (Surface Tension) ระหว่างพื้นผิวอะไรที่ง่ายแก่การวัดในเชิงปฏิบัติ
- 1 : ของแข็ง-ของเหลว
- 2 : ของแข็ง-แก๊ส
- 3 : ของเหลว-แก๊ส
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 118 :
- วิธีการใดที่ใช้วัดความตึงผิวของของเหลว
- 1 : การวัดความซึมเว้าขึ้นของของเหลวตามหลอดแก้วรูเล็ก (Capillary Rise)
- 2 : การวัดด้วยแผ่น Wilhelmy (Wilhelmy Plate)
- 3 : การวัดด้วยวงแหวน(Ring)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 119 :
- ความซึมเว้าขึ้นของน้ำตามหลอดแก้วรูเล็ก (Capillary Rise) เป็นผลมาจากการยึดติด(Adhesion) ระหว่างโมเลกุล
- 1 : แก้ว-น้ำ
- 2 : น้ำ-น้ำ
- 3 : แก้ว-แก้ว
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 120 :
- การซึมนูนลงของปรอทตามหลอดแก้วรูเล็ก (Capillary Depression) เป็นผลมาจากการเชื่อมแน่น (Cohesion) ระหว่างโมเลกุล
- 1 : แก้ว-ปรอท
- 2 : แก้ว-แก้ว
- 3 : ปรอท-ปรอท
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 121 :
- ความตึงผิวระหว่างพื้นผิวใดที่ง่ายแก่การวัดหาค่าเชิงปฏิบัติ
- 1 : ของแข็ง-ของเหลว
- 2 : ของแข็ง-แก๊ส
- 3 : ของเหลว-แก๊ส
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 122 :
- มุมสัมผัสในระบบ 3 เฟส เป็นมุมที่วัดจากเฟสใด ผ่านเฟสใด และ ถึงเฟสใด
- 1 : ของแข็งผ่านน้ำสู่อากาศ
- 2 : ของแข็งผ่านอากาศสู่น้ำ
- 3 : น้ำผ่านของแข็งสู่อากาศ
- 4 : น้ำผ่านอากาศสู่ของแข็ง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 123 :
- วิธีการใดที่ใช้วัดมุมสัมผัสของระบบ 3 เฟส
- 1 : การวัดหยดวางของเหลว (Sessile Drop)
- 2 : การวัดหยดวางอากาศ (Sessile Bubble)
- 3 : การควบคุมฟองอากาศ (Captive Bubble)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 124 :
- มุมสัมผัสในระบบ 3 เฟส เป็นมุมระหว่างเวกเตอร์อะไร
- 1 : เวกเตอร์ SL และ LG
- 2 : เวกเตอร์ SL และ SG
- 3 : เวกเตอร์ SG และ LG
- 4 : ผิดทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 125 :
- จากการวางหยดน้ำมันบนอนุภาคของแข็งดังรูปใ รูปใดแสดงว่า อนุภาคชอบเปียกน้ำโดยสิ้นเชิง
- 1 : a
- 2 : b
- 3 : c
- 4 : ไม่ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 126 :
- จากการวางหยดน้ำมันบนอนุภาคของแข็งดังรูป รูปใดแสดงว่าอนุภาคไม่ชอบเปียกน้ำโดยสิ้นเชิง
- 1 : a
- 2 : b
- 3 : c
- 4 : ไม่ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 127 :
- จากการวางหยดน้ำมันบนอนุภาคของแข็ง ดังรูป รูปใดแสดงว่าอนุภาคของแข็งนั้น ๆ ชอบอากาศ (Aerophillic)
- 1 : a
- 2 : b
- 3 : c
- 4 : ไม่ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 128 :
- จากการวางหยดน้ำมันบนอนุภาคของแข็งดังรูป รูปใดแสดงว่าผิวของอนุภาคนั้น ๆ ไม่ชอบอากาศ (Aerophobic)
- 1 : a
- 2 : b
- 3 : c
- 4 : ไม่ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 129 :
- จากการวางหยดน้ำมันบนอนุภาคของแข็งดังรูป รูปใดแสดงว่าอนุภาคชอบ น้ำมันโดยสิ้นเชิง
- 1 : a
- 2 : b
- 3 : c
- 4 : ไม่ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 130 :
- จากการวางหยดน้ำมันบนอนุภาคของแข็งดังรูป รูปใดแสดงว่าอนุภาคไม่ชอบน้ำมันโดยสิ้นเชิง
- 1 : a
- 2 : b
- 3 : c
- 4 : ไม่ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 131 :
- กลุ่มแร่ใดมีความสามารถในการลอยติดขึ้นมากับอากาศ (Flotability) น้อยสุด
- 1 : กลุ่มแร่ซัลไฟด์ (Sulfides)
- 2 : กลุ่มแร่คาร์บอเนต (Carbonates)
- 3 : กลุ่มแร่ออกไซด์ (Oxides)
- 4 : กลุ่มแร่ซิลิเกต (Silicates)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 132 :
- กลุ่มแร่ใดมีความยากสุดในการเปียกน้ำ (Wettability)
- 1 : กลุ่มแร่ซัลไฟด์ (Sulfides)
- 2 : กลุ่มแร่คาร์บอเนต (Carbonates)
- 3 : กลุ่มแร่ออกไซด์ (Oxides)
- 4 : กลุ่มแร่ซิลิเกต (Silicates)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 133 :
- กลุ่มแร่ใดมีลำดับความเป็นขั้ว (Polarity) มากที่สุด
- 1 : กลุ่มแร่ซัลไฟด์ (Sulfide)
- 2 : กลุ่มแร่คาร์บอเนต (Carbonates)
- 3 : กลุ่มแร่ออกไซด์ (Oxides)
- 4 : กลุ่มแร่ซิลิเกต (Silicates)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 134 :
- ความมีขั้ว (Polarity) ของถ่านหินขึ้นอยู่กับกลุ่มใด
- 1 : คาร์บอกซิลิค (Carboxylic)
- 2 : ฟิโนลิค (Phenolic)
- 3 : เนื้อแร่ (Mineral Matter)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 135 :
- ความไม่มีขั้ว (Non-polarity) ของถ่านหินขึ้นอยู่กับกลุ่มใด
- 1 : ไฮโดรคาร์บอนเชิงซ้อน (Complex Hydrocarbon)
- 2 : คาร์บอกซิลิค (Carboxylic)
- 3 : ฟิโนลิค (Phenolic)
- 4 : เนื้อแร่ (Mineral Matter)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 136 :
- ถ่านหินชนิดใดที่มีความง่ายสุดในการเปียกน้ำ (Wettability)
- 1 : พีท (Peat)
- 2 : ลิกไนต์ (Lignite)
- 3 : ซับบิทูมินัส (Sub-bituminous)
- 4 : บิทูมินัส(Bituminous)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 137 :
- ถ่านหินชนิดใดที่มีความยากสุดในการเปียกน้ำ (Wettability)
- 1 : พีท (Peat)
- 2 : ลิกไนต์ (Lignite)
- 3 : ซับบิทูมินัส (Sub-bituminous)
- 4 : บิทูมินัส(Bituminous)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 138 :
- ระบบการลอยแร่จัดเป็นปรากฏการณ์การเปียกผิวชนิดใด
- 1 : การเปียกแบบยึดติด (Adhesional Wetting)
- 2 : การเปียกแบบแผ่กระจาย (Spreading Wetting)
- 3 : การเปียกแบบรวมเข้าด้วยกัน (Immersional Wetting)
- 4 : การเปียกแบบซึมตามรูเล็ก (Capillary Wetting)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 139 :
- ถ่านหินที่มีค่าความตึงผิววิกฤต = 46 erg/cm2 จะเปียกอย่างสมบูรณ์เมื่อแช่ใน
- 1 : น้ำซึ่งมีค่าความตึงผิว = 73 erg/cm2
- 2 : Ethylene glycol ซึ่งมีค่าความตึงผิว = 47.3 erg/cm2
- 3 : Ethanol ซึ่งมีค่าความตึงผิว= 22.4 erg/cm2
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 140 :
- ถ่านหินที่มีค่าความตึงผิววิกฤต = 46 erg/cm2 จะไม่เปียกอย่างสมบูรณ์เมื่อแช่ใน
- 1 : น้ำซึ่งมีค่าความตึงผิว = 73 erg/cm2
- 2 : Acetone ซึ่งมีค่าความตึงผิว = 23.7 erg/cm2
- 3 : Ethanol ซึ่งมีค่าความตึงผิว= 22.4 erg/cm2
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 141 :
- การลอยอนุภาคแบบแกมมา (Gamma Flotation) เหมาะสำหรับประยุกต์ใช้ใน
- 1 : การแยกแร่ซัลไฟด์
- 2 : การแยกหมึกออกจากกระดาษ
- 3 : การแยกเก็บพลาสติกต่างชนิดกัน
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 142 :
- ความตึงผิววิกฤต (Critical Surface Tension) ของของแข็ง สามารถหาได้จากค่าความตึงผิวของของเหลวที่ทำให้ของแข็งนั้น ๆ เปียกอย่างสมบูรณ์ที่
- 1 : ค่า cos o = 1
- 2 : ค่า cos o = 0
- 3 : ค่า cos o = - 1
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 143 :
- โครงสร้างเชิงโมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์ที่ทำปฏิกิริยาบนพื้นผิว (Surface Active Reagent or Surfactant) ทั่วไปประกอบด้วย
- 1 : ส่วนที่มีขั้ว (Polar)
- 2 : สายไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon Chain)
- 3 : ส่วนที่มีขั้ว และ สายไฮโดรคาร์บอน
- 4 : ผิดทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 144 :
- ข้อใดเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ทำปฏิกิริยาบนพื้นผิว (Surface Active Reagent or Surfactant)
- 1 : สารเคลือบผิวฟองอากาศ (Frother)
- 2 : สารเคลือบผิวแร่ (Collector)
- 3 : สารจับกลุ่มอนุภาคแร่ (Flocculant)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 145 :
- ข้อใดเป็นส่วนที่มีขั้ว (Polar) หรือหมู่ฟังก์ชัน (Functional Group) ของสารประกอบอินทรีย์ที่ทำปฏิกิริยาบนพื้นผิว (Surface Active Reagent or Surfactant)
- 1 : ไฮดรอกซิล (Hydroxyl, --OH)
- 2 : อะมีโน (Amino, --NH2)
- 3 : คาร์บอกซิล (Carboxyl, --COOH)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 146 :
- ข้อใดเป็นส่วนที่ไม่มีขั้ว (Non-polar) ของสารประกอบอินทรีย์ที่ทำปฏิกิริยาบนพื้นผิว (Surface Active Reagent or Surfactant)
- 1 : ไฮดรอกซิล (Hydroxyl, --OH)
- 2 : อะมีโน (Amino, --NH2)
- 3 : โซ่แอลคิล (Alkyl, CnH2n+1)
- 4 : คาร์บอกซิล (Carboxyl, --COOH)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 147 :
- เมื่อเติมสารประกอบอินทรีย์ที่ทำปฏิกิริยาบนพื้นผิว (Surface Active Reagent or Surfactant) ลงไปของเหลว จะทำให้ความตึงผิวระหว่างของเหลวกับอากาศ
- 1 : เพิ่มขึ้น
- 2 : ลดลง
- 3 : ไม่เปลี่ยนแปลง
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 148 :
- เมื่อความยาวโซ่ไฮโดรคาร์บอนของสารประกอบอินทรีย์ยาวขึ้น จะทำให้ความตึงผิวระหว่างของเหลวกับอากาศ
- 1 : เพิ่มขึ้น
- 2 : ลดลง
- 3 : ไม่เปลี่ยนแปลง
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 149 :
- ตามกฎของ Traube การเพิ่มความยาวโซ่ไฮโดรคาร์บอนของสารประกอบอินทรีย์โดยการเติมกลุ่ม CH2 หรือ CH3 หนึ่งกลุ่มลงไปในโซ่ไฮโดรคาร์บอนนั้น ๆ จะสามารถลดปริมาณสารอินทรีย์ที่ใช้ลดความตึงผิวระหว่างของเหลวกับอากาศ ถึง
- 1 : หนึ่งเท่า
- 2 : สองเท่า
- 3 : สามเท่า
- 4 : สี่เท่า
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 150 :
- แรงอย่างอ่อนที่ใช้ในการดูดแนบทางฟิสิกส์บนผิวอนุภาคแร่ได้แก่
- 1 : แรงแวนเดอร์วาลส์ (van der Waals)
- 2 : พันธะไฮโดรเจน (Hydrogen Bonding)
- 3 : แรงทางไฟฟ้าสถิต (Electrostatic or Coulombic Force)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 151 :
- แรงชนิดใดที่ไม่ได้ใช้ในการดูดแนบทางฟิสิกส์บนผิวอนุภาคแร่
- 1 : แรงแวนเดอร์วาลส์ (van der Waals)
- 2 : พันธะไฮโดรเจน (Hydrogen Bonding)
- 3 : พันธะโคเวเลนต์ (Covalent Bond)
- 4 : แรงทางไฟฟ้าสถิต (Electrostatic or Coulombic Force)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 152 :
- แรงชนิดใดที่ใช้ในการดูดแนบทางเคมีบนผิวอนุภาคแร่
- 1 : แรงแวนเดอร์วาลส์ (van der Waals)
- 2 : พันธะไฮโดรเจน (Hydrogen Bonding)
- 3 : พันธะโคเวเลนต์ (Covalent Bond)
- 4 : แรงทางไฟฟ้าสถิต (Electrostatic or Coulombic Force)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 153 :
- จากรูปเป็นสารเคลือบฟองอากาศ (Frother) ชนิดใด
- 1 : น้ำมันสน (Pine Oil)
- 2 : กรดครีไซลิค (Cresylic Acid)
- 3 : MIBC (Methyl Isobutyl Carbinol)
- 4 : Polyglycol
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 154 :
- จากรูปเป็นสารเคลือบฟองอากาศ (Frother) ชนิดใด
- 1 : น้ำมันสน (Pine Oil)
- 2 : กรดครีไซลิค (Cresylic Acid)
- 3 : MIBC (Methyl Isobutyl Carbinol)
- 4 : Polyglycol
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 155 :
- จากรูปเป็นสารเคลือบฟองอากาศ (Frother) ชนิดใด
- 1 : น้ำมันสน (Pine Oil)
- 2 : กรดครีไซลิค (Cresylic Acid)
- 3 : MIBC (Methyl Isobutyl Carbinol)
- 4 : Polyglycol
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 156 :
- จากรูปเป็นสารเคลือบฟองอากาศ (Frother) ชนิดใด
- 1 : น้ำมันสน (Pine Oil)
- 2 : กรดครีไซลิค (Cresylic Acid)
- 3 : MIBC (Methyl Isobutyl Carbinol)
- 4 : Polyglycol
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 157 :
- จากรูปเป็นสารเคลือบฟองอากาศ (Frother) ชนิดใด
- 1 : น้ำมันสน (Pine Oil)
- 2 : กรดครีไซลิค (Cresylic Acid)
- 3 : MIBC (Methyl Isobutyl Carbinol)
- 4 : Polyglycol
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 158 :
- จากรูปแสดงถึงส่วนประกอบของกลุ่มมีขั้ว (Polar Group) ของสารเคลือบผิวแร่ (Collector) ชนิดใด
- 1 : แซนเทต (Xanthates)
- 2 : ไดไทโอฟอสเฟต (Dithiophosphates)
- 3 : ไดไทโอคาร์เบเมต (Dithiocarbamate)
- 4 : Mercaptobenzothiazole
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 159 :
- จากรูปแสดงถึงส่วนประกอบของกลุ่มมีขั้ว (Polar Group) ของสารเคลือบผิวแร่ (Collector) ชนิดใด
- 1 : แซนเทต (Xanthates)
- 2 : ไดไทโอฟอสเฟต (Dithiophosphates)
- 3 : ไดไทโอคาร์เบเมต (Dithiocarbamate)
- 4 : Mercaptobenzothiazole
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 160 :
- จากวงจรแต่งแร่ดังรูป กรรมวิธีการแยกแร่ใช้หลักการตรงกับข้อใด
- 1 : Hydrosizer
- 2 : Heavy media separation
- 3 : Cone classifier
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 161 :
- จากวงจรแต่งถ่านลิกไนต์ดังรูป กรรมวิธีการแยกแร่ใช้หลักการตรงกับข้อใด
- 1 : Hydrosizer
- 2 : Heavy media separation
- 3 : Cone classifier
- 4 : Jig
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 162 :
- จากวงจรแต่งถ่านลิกไนต์ดังรูป กรรมวิธีการแยกแร่ใช้หลักการตรงกับข้อใด
- 1 : Hydrosizer&Hydrocyclone
- 2 : Heavy media separation
- 3 : Cone classifier&Hydrocyclone
- 4 : Jig&Hydrocyclone
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 163 :
- จากวงจรแต่งถ่านลิกไนต์ดังรูป กรรมวิธีการแยกแร่ใช้หลักการตรงกับข้อใด
- 1 : Hydrosizer& Spiral concentrator
- 2 : Heavy media separation
- 3 : Cone classifier& Spiral concentrator
- 4 : Jig&Spiral concentrator
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 164 :
- จากวงจรย่อยแร่ดังรูป เครื่องมือลดขนาดแร่มีจำนวนตรงกับข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 4
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 165 :
- จากวงจรย่อยแร่ดังรูป เครื่องมือคัดขนาดแร่มีจำนวนตรงกับข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 4
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 166 :
- จากวงจรลอยแร่ฟลูออสปาร์ดังรูป เซลลอยแร่ชุด Rougher มีจำนวนตรงกับข้อใด
- 1 : 3
- 2 : 4
- 3 : 5
- 4 : 10
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 167 :
- จากวงจรลอยแร่ฟลูออสปาร์ดังรูป เซลลอยแร่ชุด Scavenger มีจำนวนตรงกับข้อใด
- 1 : 4
- 2 : 5
- 3 : 6
- 4 : ไม่มีข้อถูก
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 168 :
- จากวงจรลอยแร่ฟลูออสปาร์ดังรูป เซลลอยแร่ชุด 1st cleaner มีจำนวนตรงกับข้อใด
- 1 : 3
- 2 : 4
- 3 : 5
- 4 : 6
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 169 :
- จากวงจรลอยแร่ฟลูออสปาร์ดังรูป เซลลอยแร่ชุด 2nd cleaner มีจำนวนตรงกับข้อใด
- 1 : 3
- 2 : 4
- 3 : 5
- 4 : 6
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 170 :
- จากวงจรลอยแร่ฟลูออสปาร์ดังรูป เซลลอยแร่ชุด 3rd cleaner มีจำนวนตรงกับข้อใด
- 1 : 3
- 2 : 4
- 3 : 5
- 4 : 6
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 171 :
- จากวงจรลอยแร่ฟลูออสปาร์ดังรูป เซลลอยแร่ชุด 4th cleaner มีจำนวนตรงกับข้อใด
- 1 : 3
- 2 : 4
- 3 : 5
- 4 : 6
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 172 :
- จากวงจรล้างทรายแก้ว ดังรูป เครื่องมือคัดขนาดแร่มีจำนวนตรงกับข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 4
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 173 :
- จากวงจรล้างทรายแก้ว ดังรูป เครื่องมือแยกน้ำจากทรายมีจำนวนตรงกับข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 4
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 174 :
- จากวงจรล้างทรายแก้ว ดังรูป เครื่องมือแยกแร่หนักจากทรายแก้วตรงกับข้อใด
- 1 : Spiral concentrator
- 2 : Hydrosizer
- 3 : Trommel
- 4 : Hydrocyclone
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 175 :
- จากวงจรล้างทรายแก้วชั้นสอง ดังรูป เครื่องมือขัดผิวทรายเหลืองให้ขาวตรงกับข้อใด
- 1 : Spiral concentrator
- 2 : Hydrosizer
- 3 : Attrition cell
- 4 : Hydrocyclone
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 176 :
- จากวงจรล้างทรายแก้วชั้นสองของแหล่งระยอง ดังรูป เครื่องมือคัดแยกแร่มลทินตรงกับข้อใด
- 1 : Spiral concentrator
- 2 : Hydrosizer
- 3 : WHIMS
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 177 :
- Contact angle ระหว่างฟองอากาศและผิวอนุภาคแร่ในน้ำมีค่าสูงแสดงถึงสิ่งใด
- 1 : ผิวแร่ชอบน้ำมาก
- 2 : ผิวแร่ชอบน้ำน้อย
- 3 : ผิวแร่ชอบฟองอากาศน้อย
- 4 : ผิวแร่ไม่ชอบทั้งน้ำและฟองอากาศ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 178 :
- แร่ในข้อใดที่มี Contact angle สูง
- 1 : ควอรตซ์
- 2 : เซอร์คอน
- 3 : เฟลด์สปาร์
- 4 : กาลีนา
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 179 :
- แร่ในข้อใดที่ชอบน้ำมากที่สุด
- 1 : ควอรตซ์
- 2 : แบไรต์
- 3 : เซอร์รัสไซต์
- 4 : กาลีนา
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 180 :
- แร่ในข้อใดผิวมันไม่ค่อยเปียกน้ำ
- 1 : การ์เนต
- 2 : ดีบุก
- 3 : โมลิบดิไนต์
- 4 : รูไทล์
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 181 :
- แร่ในข้อใดที่ผิวสามารถปรับสภาพเปลี่ยนเป็นแร่ซัลไฟด์ได้
- 1 : ทัวมารีน
- 2 : ดีบุก
- 3 : แองกีไซต์
- 4 : มาลาไคต์
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 182 :
- ผิวแร่ชนิดใดทำปฏิกิริยากับ โซเดียมไดซัลไฟด์ได้
- 1 : แทนทาไลต์
- 2 : แบไรต์
- 3 : เซอร์รัสไซต์
- 4 : สฟาเลอไรต์
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 183 :
- ถ้ามีแร่กาลีนากับไพไรต์ปนกัน ควรลอยแร่ชนิดใดก่อนและเพราะเหตุใด
- 1 : ลอยไพไรต์ก่อนเพราะลอยง่ายกว่า
- 2 : ลอยกาลีนาก่อนเพราะสภาพเป็นกรดมากกว่า
- 3 : ลอยไพไรต์ก่อนเพราะภาวะเป็นกลาง
- 4 : ลอยกาลีนาก่อนเพราะผิวที่เคลือบแซนเทตเสถียรกว่า
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 184 :
- ถ้าระบบมีแร่สฟาเลอไรต์ สติปไนต์ และบอร์ไนต์ ควรลอยแร่ชนิดใดก่อนตามลำดับ
- 1 : สฟาเลอไรต์ สติปไนต์ และบอร์ไนต์
- 2 : สฟาเลอไรต์ บอร์ไนต์และสติปไนต์
- 3 : สติปไนต์ สฟาเลอไรต์ และบอร์ไนต์
- 4 : บอร์ไนต์ สติปไนต์ และสฟาเลอไรต์
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 185 :
- ถ้าระบบมีแร่แบไรต์ โมลิบดิไนต์ และแคลไซต์ ควรลอยแร่ชนิดใดก่อนตามลำดับ
- 1 : โมลิบดิไนต์ แบไรต์และแคลไซต์
- 2 : แบไรต์ โมลิบดิไนต์ และแคลไซต์
- 3 : แคลไซต์ โมลิบดิไนต์ และแบไรต์
- 4 : แบไรต์ แคลไซต์และโมลิบดิไนต์
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 186 :
- ถ้าจะลอยแร่แบไรต์หรือฟลูออไรต์ ควรใช้ collector ประเภทใด
- 1 : xanthate
- 2 : dithiophosphates
- 3 : sulphonates
- 4 : carboxylic
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 187 :
- ถ้าจะลอยแร่โมลิบดิไนต์หรือสติปไนต์ ควรใช้ collector ประเภทใด
- 1 : xanthate
- 2 : dithiophosphates
- 3 : sulphonates
- 4 : carboxylic
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 188 :
- จากสูตรโครงสร้างของสารเคมีที่ให้มา คือข้อใด
- 1 : sodium dodecyl xanthate
- 2 : sodium dodecyl dithiophosphates
- 3 : sodium ethyl xanthate
- 4 : sodium methyl xanthate
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 189 :
- collector ชนิดใดที่ เป็น carboxylates
- 1 : xanthate
- 2 : dithiophosphates
- 3 : sulphonates
- 4 : sodium oleate
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 190 :
- คำกล่าวข้อใดผิด
- 1 : ค่า selectivity ของ collector จะลดลงเมื่อมีโซ่ไฮโดรคาร์บอนยาว
- 2 : ค่า water solubility ของ collector จะลดลงเมื่อมีโซ่ไฮโดรคาร์บอนยาว
- 3 : ค่า floatability ของการลอยแร่ลดลงเมื่อ ค่า pH ไม่เหมาะสม
- 4 : แอมมีนถูกใช้ในการลอยแร่ซิลิเกตเพราะศักย์ไฟฟ้าที่ผิวแร่เป็นบวก
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 191 :
- สารเคมีข้อใดที่มีสมบัติเป็นทั้ง collector และ frother
- 1 : sodium dodecyl xanthate
- 2 : sodium dodecyl dithiophosphates
- 3 : oleic acid
- 4 : sodium ethyl xanthate
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 192 :
- แร่สฟาเลอไรต์สามารถ activate ผิวด้วยสารใด
- 1 : sodium propyl xanthate
- 2 : sodium disulphide
- 3 : oleic acid
- 4 : copper sulphate
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 193 :
- ผิวของแร่ smithsonite สามารถเปลี่ยนเป็น sphalerite โดยใช้สารใดทำปฏิกิริยา
- 1 : sodium hydroxide
- 2 : sodium disulphide
- 3 : potassium dichromate
- 4 : copper sulphate
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 194 :
- ในกรณีที่ใช้โซเดียมไดซัลไฟด์อย่างเหลือเฟือในการ activated ผิวแร่ oxidized minerals จะมีผลอย่างไร
- 1 : การลอยแร่ได้ง่ายขึ้น
- 2 : จะกดแร่ซัลไฟด์
- 3 : ทำให้ค่า pH ของสารละลายเพิ่มขึ้น
- 4 : ทำให้ค่า pH ของสารละลายลดลง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 195 :
- ในกรณีที่ใช้โซเดียมไดซัลไฟด์ในการ activated ผิวแร่ oxidized minerals จะมีผลดีขึ้นเมื่อทำอย่างไร
- 1 : เติมแอมโมเนียมซัลเฟต
- 2 : เติมโซเดียมซัลเฟต
- 3 : ปรับ pH ของสารละลายเป็นกรดเล็กน้อย
- 4 : ปรับ pH ของสารละลายเป็นเบสมากๆ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 196 :
- สารที่นิยมใช้ในการกดแร่ซิลิเกตได้แก่ข้อใด
- 1 : แอมโมเนียมซัลเฟต
- 2 : โซเดียมซัลเฟต
- 3 : โซเดียมซิลิเกต
- 4 : น้ำแป้ง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 197 :
- สารกดที่ใช้กดแร่ในระบบตะกั่ว-ทองแดง-สังกะสีซัลไฟด์ คือสารใด
- 1 : โซเดียมไซยาไนด์
- 2 : โซเดียมซัลไฟด์
- 3 : โซเดียมซิลิเกต
- 4 : น้ำแป้ง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 198 :
- การใช้สารกดประเภทไซยาไนด์และซิงค์ซัลเฟตมีข้อควรระวังอย่างไร
- 1 : ควรปรับ pH น้อยกว่า 7
- 2 : ควรปรับ pH มากกว่า 7
- 3 : ต้องไม่มี Fe2+
- 4 : ต้องไม่มี Zn2+
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 199 :
- สารกดที่สามารถใช้กดแร่ไพไรต์และอะซิโนไพไรต์ในกรณีที่ใช้ xanthate เป็น collector ในการลอยแร่ซัลไฟด์
- 1 : โซเดียมไดโครเมต
- 2 : เด๊กติน
- 3 : โซเดียมซิลิเกต
- 4 : ไลม์
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 200 :
- ถ้ามี iron hydroxide สะสมบนผิวแร่ที่จะลอยมีผลเหมือนข้อใด
- 1 : ผิวแร่มี slimes เคลือบอยู่ เพราะ iron hydroxide จะไปตกตะกอนบนผิวแร่เป็นหย่อมๆ ป้องกันการทำหน้าที่ของสารเคลือบผิว
- 2 : เหมือนการทำหน้าที่ของ copper sulphate
- 3 : การลอยแร่ดีขึ้น
- 4 : การทำหน้าที่ของ frother
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 201 :
- ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการทดสอบการลอยแร่แบบ cycle tests
- 1 : การเพิ่ม recovery โดยการแต่งหางแร่ซ้ำ
- 2 : การปรับน้ำยาลอยแร่ชดเชยการลอยแร่วงจรหมุนเวียน
- 3 : เพื่อให้ทราบผลของ slimes
- 4 : เพื่อให้ทราบค่าใช้จ่ายในการลอยแร่
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 202 :
- ข้อมูลใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับ การทดสอบการลอยแร่
- 1 : เพื่อให้ทราบขนาดที่เหมาะสม
- 2 : เพื่อให้ทราบชนิดและปริมาณสารเคมี
- 3 : เพื่อให้ทราบปริมาณแร่พลอยได้
- 4 : เพื่อให้ทราบเวลาที่ใช้ในการลอยแร่
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 203 :
- หน้าที่ของ roughers flotation cell คือข้อใด
- 1 : เพื่อลอยแร่ที่แตกตัวเป็นอิสระและมีขนาดอนุภาคพอเหมาะ
- 2 : เพื่อเก็บแร่ให้มากที่สุด
- 3 : เพื่อเก็บแร่พลอยได้
- 4 : เพื่อลอยแร่ให้สะอาด
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 204 :
- เซลลอยแร่ที่ใช้ในการเพิ่ม recovery คือข้อใด
- 1 : roughers
- 2 : cavengers
- 3 : cleaners
- 4 : re-cleaners
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 205 :
- slimes มีผลกระทบอย่างไรในการลอยแร่
- 1 : เปลืองน้ำยาลอยแร่และ ป้องกันการทำหน้าที่ของสารเคลือบผิวแร่
- 2 : ช่วยลดปัญหาการใช้น้ำยาลอยแร่ที่เหลือเฟือ
- 3 : เพื่อทำให้ลอยแร่บางชนิดได้ง่าย
- 4 : ลดปํญหาของไซยาไนด์ในการลอยแร่
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 206 :
- ข้อใดไม่ใช่เครื่องลอยแร่แบบ pneumatic
- 1 : flotation column
- 2 : Davcra cell
- 3 : Jameson cell
- 4 : Denver cell
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 207 :
- agglomeration-skin flotation คือข้อใด
- 1 : การลอยแร่ที่ไม่ชอบน้ำโดยใช้พอลิเมอร์เกาะกลุ่มกันซึ่งจะหนักกว่าน้ำแต่เบากว่าแร่ที่เปียกน้ำ
- 2 : Davcra cell
- 3 : table flotation
- 4 : Denver cell
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 208 :
- ข้อใดไม่ใช่ข้อดีของการลอยแร่ที่มีขนาดอนุภาคใหญ่เท่าที่จะใหญ่ได้
- 1 : ค่าใช้จ่ายในการบดแร่ต่ำ
- 2 : แร่ฝุ่นน้อย
- 3 : ลดประสิทธิภาพในการแต่ง
- 4 : เพิ่มประสิทธิภาพของการเกรอะและการกรอง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 209 :
- ข้อใดคือ carrier flotation
- 1 : การลอยแร่ที่ไม่ชอบน้ำโดยใช้พอลิเมอร์เกาะกลุ่มกันซึ่งจะหนักกว่าน้ำแต่เบากว่าแร่ที่เปียกน้ำ
- 2 : การลอยแร่ที่ไม่ชอบน้ำโดยใช้ฟองอากาศเกาะกลุ่มกันซึ่งจะหนักกว่าน้ำแต่เบากว่าแร่ที่เปียกน้ำ
- 3 : การแยกแร่ดินขาวโดยใช้ฝุ่นแร่แคลไซต์ใส่ไปในระบบและใช้ oleic acid เป็นสารเคลือบผิวแร่ แร่อนาเทสที่ขนาดฝุ่นที่อยู่ในดินขาวแยกออกมาเกาะผิวแร่แคลไซต์แล้วแยกด้วยวิธีลอยแร่
- 4 : การลอยแร่บนโต๊ะสั่นที่เคลือบด้วยน้ำมัน
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 210 :
- การลอยแร่ถ่านหินควรใช้สารเคลือบผิวชนิดใด
- 1 : oleic acid
- 2 : xanthate
- 3 : amines
- 4 : kerosene
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 211 :
- จากกราฟอัตราการลอยแร่ข้างล่างข้อใดไม่เป็นจริง
- 1 : ขนาดแร่ที่ลอยได้ดีคือขนาดปานกลาง
- 2 : การลอยแร่ขนาดละเอียดจะช่วยลดปัญหาการใช้น้ำยาลอยแร่ที่เหลือเฟือ
- 3 : แร่ขนาดหยาบลอยได้ยากเพราะยังไม่แตกตัวอิสระ
- 4 : แร่ขนาดหยาบจะต้องลอยในภาวะที่รุนแรงมากขึ้น
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 212 :
- จากเครื่องลอยแร่ด้านล่าง ข้อใดถูก
- 1 : wash water ทำให้หัวแร่สะอาดมากขึ้น
- 2 : ฟองอากาศที่ใช้ในการลอยขึ้นอยู่กับความสูงของคอลัมน์
- 3 : แร่ขนาดหยาบลอยได้ง่ายด้วยเครื่องชนิดนี้
- 4 : เกรดหัวแร่ไม่สูงเพราะช่องป้อนอยู่ใกล้ส่วนที่ลอย
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 213 :
- Contact angle ระหว่างฟองอากาศและผิวอนุภาคแร่ในน้ำมีค่าสูงแสดงถึงสิ่งใด
- 1 : ผิวแร่ชอบน้ำมาก
- 2 : ผิวแร่ชอบน้ำน้อย
- 3 : ผิวแร่ชอบฟองอากาศน้อย
- 4 : ผิวแร่ไม่ชอบทั้งน้ำและฟองอากาศ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 214 :
- กราฟข้อใดที่แสดงถึงข้อมูลการลอยแร่ที่ถูกต้อง (เมื่อ R = recovery)
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 :
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 215 :
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 :
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 216 :
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 :
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 217 :
- จากรูปศัพท์ใดที่ถูกต้องตรงกับรูป
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 :
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
เนื้อหาวิชา : 481 : Flocculation and coagulation
ข้อที่ 218 :
- หลักปฏิบัติการของการจับก้อนอนุภาค (Coagulation) อาศัย
- 1 : การปรับเปลี่ยนประจุไฟฟ้าบนผิวอนุภาคของแข็ง
- 2 : การเกาะกลุ่มอนุภาคของแข็งผ่านสะพานพอลิเมอร์
- 3 : การก่อเกิดสารประกอบเชิงซ้อนบนผิวตัวดูดซับ
- 4 : การเกิดปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 219 :
- หลักปฏิบัติการของการจับกลุ่มอนุภาค (Flocculation) อาศัย
- 1 : การปรับเปลี่ยนประจุไฟฟ้าบนผิวอนุภาคของแข็ง
- 2 : การก่อเกิดสารประกอบเชิงซ้อนบนผิวตัวดูดซับ
- 3 : การเกาะกลุ่มอนุภาคของแข็งผ่านสะพานพอลิเมอร์
- 4 : การก่อเกิดสารประกอบเชิงซ้อนหรือคู่ไอออนบนผิวเรซิน
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 220 :
- การแตกตัวเป็นไอออนที่ผิวอนุภาค (Direct Ionization of Surface Groups) มักเกิดขึ้นบนผิวอนุภาคแร่กลุ่มใด
- 1 : กลุ่มแร่ซัลไฟด์ (Sulfides)
- 2 : กลุ่มแร่คาร์บอเนต (Carbonates)
- 3 : กลุ่มแร่ออกไซด์ (Oxides)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 221 :
- การแทนที่ของไอออนแบบคงโครงสร้างเดิม (Isomorphous Ion Substitution) มักเกิดกับแร่กลุ่มใด
- 1 : กลุ่มแร่ซัลไฟด์ (Sulfides)
- 2 : กลุ่มแร่คาร์บอเนต (Carbonates)
- 3 : กลุ่มแร่ออกไซด์ (Oxides)
- 4 : กลุ่มแร่ดิน (Clay Minerals)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 222 :
- จากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าศักย์ไฟฟ้าซีตาและ pH ของของผสมไทเทเนีย จงระบุ pH ที่จุดประจุไฟฟ้าลัพธ์เป็นศูนย์ (Point of Zero Charge)
- 1 : 3
- 2 : 4
- 3 : 5
- 4 : 6
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 223 :
- จากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าศักย์ไฟฟ้าซีตา และ pH ของของผสมไทเทเนีย อนุภาคไทเทเนียมออกไซด์จะมีประจุไฟฟ้าบวก ที่ pH ใด
- 1 : pH 5
- 2 : pH < 5
- 3 : pH > 5
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 224 :
- จากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าศักย์ไฟฟ้าซีตา และ pH ของของผสมไทเทเนีย อนุภาคไทเทเนียมออกไซด์จะมีประจุไฟฟ้าลบ ที่ pH ใด
- 1 : pH 5
- 2 : pH < 5
- 3 : pH > 5
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 225 :
- จงคำนวณความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ผิวอนุภาคไทเทเนียที่ pH 4.5 ถ้าอนุภาคไททาเนียมีจุดประจุไฟฟ้าลัพธ์เป็นศูนย์ (Point of Zero Charge) ที่ pH 5
- 1 : +29.5 mV
- 2 : -29.5 mV
- 3 : +59.0 mV
- 4 : -59.0 mV
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 226 :
- จงคำนวณความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ผิวอนุภาคไทเทเนียที่ pH 5.5 ถ้าอนุภาคไททาเนียมีจุดประจุไฟฟ้าลัพธ์เป็นศูนย์ (Point of Zero Charge) ที่ pH 5
- 1 : +29.5 mV
- 2 : -29.5 mV
- 3 : +59.0 mV
- 4 : -59.0 mV
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 227 :
- วิธีใดเป็นวิธีการวัดศักย์ไฟฟ้าซีตา (Zeta Potential) ของอนุภาคแร่
- 1 : Electro-phoresis
- 2 : Electro-osmosis
- 3 : Streaming Potential
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 228 :
- จากรูปประกอบเป็นการวัดหาศักย์ไฟฟ้าซีตา (Zeta Potential) ของอนุภาคแร่ด้วยวิธีใด
- 1 : Electro-phoresis
- 2 : Electro-osmosis
- 3 : Streaming Potential
- 4 : Sedimentation Potential
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 229 :
- จากรูปประกอบเป็นการวัดหาศักย์ไฟฟ้าซีตา (Zeta Potential) ของอนุภาคแร่ด้วยวิธีใด
- 1 : Electro-phoresis
- 2 : Electro-osmosis
- 3 : Streaming Potential
- 4 : Sedimentation Potential
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 230 :
- จากรูปประกอบเป็นการวัดหาศักย์ไฟฟ้าซีตา (Zeta Potential) ของอนุภาคแร่ด้วยวิธีใด
- 1 : Electro-phoresis
- 2 : Electro-osmosis
- 3 : Streaming Potential
- 4 : Sedimentation Potential
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 231 :
- จากรูปประกอบเป็นการวัดหาศักย์ไฟฟ้าซีตา (Zeta Potential) ของอนุภาคแร่ด้วยวิธีใด
- 1 : Electro-phoresis
- 2 : Electro-osmosis
- 3 : Streaming Potential
- 4 : Sedimentation Potential
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 232 :
- สารใดเป็นสารช่วยกระจายอนุภาค (Dispersant) ฝุ่นแร่ซิลิเกต
- 1 : โซเดียมซิลิเกต
- 2 : ปูนขาว
- 3 : สารส้ม
- 4 : สารสังเคราะห์พอลิเมอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 233 :
- สารใดไม่ใช่สารช่วยกระจายอนุภาค (Dispersant) ฝุ่นแร่ซิลิเกต
- 1 : เถ้าโซดา
- 2 : สารส้ม
- 3 : โซเดียมซิลิเกต
- 4 : โซเดียมฟอสเฟต
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 234 :
- สารใดที่ใช้ในการจับกลุ่มอนุภาค (Flocculation)
- 1 : เถ้าโซดา
- 2 : โซเดียมซิลิเกต
- 3 : โซเดียมฟอสเฟต
- 4 : สารพอลิเมอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงมาก
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 235 :
- สารใดที่ไม่ได้ใช้ในการจับกลุ่มอนุภาค (Flocculation)
- 1 : สารส้ม
- 2 : สารพอลิเมอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง
- 3 : โซเดียมซิลิเกต
- 4 : เหล็กคลอไรด์
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 236 :
- ไอออนชนิดใดเป็นไอออนดูดแนบเฉพาะเจาะจง (Specifically Absorbing Ions)
- 1 : Na+
- 2 : K+
- 3 : Ca2+
- 4 : Cl-
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 237 :
- ไอออนชนิดใดไม่ใช่ไอออนดูดแนบเฉพาะเจาะจง (Specifically Absorbing Ions)
- 1 : Na+
- 2 : Ca2+
- 3 : Pb3+
- 4 : SO4-2
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 238 :
- ไอออนดูดแนบเฉพาะเจาะจง (Specifically Absorbing Ions)ได้แก่
- 1 : ไอออนที่ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าบนผิวแร่
- 2 : ไอออนที่สามารถเปลี่ยนเครื่องหมายประจุไฟฟ้าบนผิวแร่ได้
- 3 : ไอออนที่ไม่สามารถเปลี่ยนเครื่องหมายประจุไฟฟ้าบนผิวแร่ได้
- 4 : ผิดทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 239 :
- ไอออนเฉื่อยชา (Indifferent Ions)ได้แก่
- 1 : ไอออนที่ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าบนผิวแร่
- 2 : ไอออนที่สามารถเปลี่ยนเครื่องหมายประจุไฟฟ้าบนผิวแร่ได้
- 3 : ไอออนที่ไม่สามารถเปลี่ยนเครื่องหมายประจุไฟฟ้าบนผิวแร่ได้
- 4 : ผิดทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 240 :
- ป้อนศักย์ไฟฟ้าแก่อนุภาคที่มีประจุ แล้ววัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของอนุภาคนั้น ๆ ที่วิ่งเข้าหาขั้วไฟฟ้า เป็นวิธีการวัดหาศักย์ไฟฟ้าแบบ
- 1 : Electro-phoresis
- 2 : Electro-osmosis
- 3 : Streaming Potential
- 4 : Sedimentation Potential
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 241 :
- วัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของของไหลที่ไหลผ่านหลอดรูเล็กหรือเยื่อพรุน เมื่อป้อนศักย์ไฟฟ้าแก่ของผสม เป็นวิธีการวัดหาศักย์ไฟฟ้าแบบ
- 1 : Electro-phoresis
- 2 : Electro-osmosis
- 3 : Streaming Potential
- 4 : Sedimentation Potential
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 242 :
- ป้อนศักย์ไฟฟ้าแก่อนุภาคที่มีประจุ แล้ววัดคลื่นเสียงที่เปล่งออกมาเนื่องจากการเคลื่อนที่ของอนุภาคนั้น ๆ เป็นวิธีการวัดหาศักย์ไฟฟ้าแบบ
- 1 : Electro-phoresis
- 2 : Electro-osmosis
- 3 : Electrokinetic Sonic Amplitude
- 4 : Sedimentation Potential
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 243 :
- อัดดันของไหลผ่านหลอดรูเล็ก แล้ววัดศักย์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้น เป็นวิธีการวัดหาศักย์ไฟฟ้าแบบ
- 1 : Electro-phoresis
- 2 : Electro-osmosis
- 3 : Streaming Potential
- 4 : Sedimentation Potential
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 244 :
- ปล่อยอนุภาคให้ตกตัวอย่างอิสระในของไหล แล้ววัดศักย์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้น เป็นวิธีการวัดหาศักย์ไฟฟ้าแบบ
- 1 : Electro-phoresis
- 2 : Electro-osmosis
- 3 : Streaming Potential
- 4 : Sedimentation Potential
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 245 :
- วัดศักย์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้น เมื่อป้อนคลื่นเสียงแก่อนุภาคนั้น ๆ เป็นวิธีการวัดหาศักย์ไฟฟ้าแบบ
- 1 : Electro-phoresis
- 2 : Electro-osmosis
- 3 : Electrokinetic Sonic Amplitude
- 4 : Colloidal Vibration Potential
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 246 :
- หน่วยปฏิบัติการใดที่ขึ้นอยู่กับการคงตัวของระบบคอลลอยด์ (Colloidal Stability)
- 1 : การกระจายอนุภาค (Dispersion)
- 2 : การจับก้อนอนุภาค (Coagulation)
- 3 : การจับกลุ่มอนุภาค (Flocculation)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 247 :
- หน่วยปฏิบัติการใดที่ขึ้นอยู่กับการไม่คงตัวของระบบคอลลอยด์ (Colloidal Instability)
- 1 : การกระจายอนุภาค (Dispersion)
- 2 : การจับก้อนอนุภาค (Coagulation)
- 3 : การลอยอนุภาค (Flotation)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 248 :
- อนุภาค AgI ในสารละลาย AgNO3 จะมีประจุชนิดใดบนพื้นผิว
- 1 : ประจุบวก
- 2 : ประจุลบ
- 3 : ประจุลัพธ์เป็นศูนย์
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 249 :
- อนุภาค AgI ในสารละลาย KI จะมีประจุชนิดใดบนพื้นผิว
- 1 : ประจุบวก
- 2 : ประจุลบ
- 3 : ประจุลัพธ์เป็นศูนย์
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 250 :
- ไอออนซึ่งสะสมตัวอยู่ในสารละลายใกล้ผิวอนุภาคแร่ เพื่อรักษาสมดุลทางไฟฟ้าที่ผิวแร่เรียกว่า
- 1 : ไอออนกำหนดศักย์ไฟฟ้า (Potential Determining Ion)
- 2 : ไอออนชนิดตรงกันข้าม (Counter Ion)
- 3 : ไอออนที่มีประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกัน (Co-Ion)
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 251 :
- ไอออนชนิดตรงกันข้าม (Counter Ion) ประกอบด้วย
- 1 : ไอออนกำหนดศักย์ไฟฟ้า (Potential Determining Ion)
- 2 : ไอออนดูดแนบเฉพาะเจาะจง (Specifically Absorbing Ions)
- 3 : ไอออนเฉื่อยชา (Indifferent Ions)
- 4 : ไอออนดูดแนบเฉพาะเจาะจง และ ไอออนเฉื่อยชา
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 252 :
- ไอออนที่มีประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกัน (Co-Ion) ได้แก่
- 1 : ไอออนที่ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าบนผิวแร่
- 2 : ไอออนที่มีประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันกับประจุบนผิวแร่
- 3 : ไอออนที่สามารถเปลี่ยนเครื่องหมายประจุไฟฟ้าบนผิวแร่ได้
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 253 :
- ศักย์ไฟฟ้าซีตา (Zeta Potential, ) สามารถวัดได้ที่
- 1 : ระนาบสเตอร์น (Stern Plane)
- 2 : ระนาบเฉือน (Shear or Slipping Plane)
- 3 : ที่ผิวอนุภาค
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 254 :
- ชั้นไฟฟ้าคู่ (Electrical Double Layer, EDL) คือ
- 1 : ชั้นสะสมตัวของไอออนในชั้นสเตอร์น และ ชั้นแพร่กระจาย
- 2 : ชั้นสะสมตัวของไอออนบนผิวอนุภาค และ ชั้นสเตอร์น
- 3 : ชั้นสะสมตัวของไอออนบนผิวอนุภาค และ ชั้นแพร่กระจาย
- 4 : ชั้นสะสมตัวของไอออนบนผิวอนุภาค และ ในสารละลาย
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 255 :
- จากรูป เป็นเครื่องกรองชนิดใด ซึ่งนิยมใช้ในโรงงานล้างดินขาวทั่วไป
- 1 : Rotary drum filter
- 2 : Belt filter
- 3 : Filter press
- 4 : Rotary-disc filters
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 256 :
- จากรูป Hydrocyclone ซึ่งนิยมใช้ในโรงงานล้างทรายทั่วไปมีหน้าที่ตรงข้อใด
- 1 : แยกน้ำออกจากทราย
- 2 : แยกดินละเอียดออกจากทราย
- 3 : ช่วยกองทรายให้สูงลดการย้ายกองรถตัก
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 257 :
- จากรูป เป็นเครื่องอบแห้งชนิดใด ซึ่งนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเซรามิก
- 1 : Spray dryer
- 2 : Rotary dryer
- 3 : Steam tube rotary dryer
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 258 :
- อนุภาคที่ตกตะกอนและจับเป็นก้อนใหญ่จะเรียกว่าอะไร
- 1 : sponge
- 2 : lump
- 3 : flocs
- 4 : sediment
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 259 :
- ข้อใดเป็นหลักการ การจมตัวของอนุภาคในของไหล
- 1 : Darcys law
- 2 : Stokes law
- 3 : Daltons law
- 4 : Venturis law
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 260 :
- เมื่อผิวอนุภาคเริ่มมีศักย์ไฟฟ้าลัพธ์เป็นศูนย์ จะเกิดปรากฏการณ์ใด
- 1 : การกระจายตัวของอนุภาค
- 2 : การลอยขึ้นลงของอนุภาค
- 3 : อนุภาคเริ่มตกตะกอน
- 4 : อนุภาคเกาะฟองอากาศ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 261 :
- คำกล่าวใดผิด
- 1 : coagulation คือ การที่สารคอลลอยด์หรืออนุภาคขนาดเล็กรวมกลุ่มแล้วตกตะกอน
- 2 : flocculation คือ การที่ศักย์ไฟฟ้าลัพธ์ที่ผิวอนุภาคเป็นศูนย์แล้วทำให้อนุภาครวมกลุ่มกันตกตะกอน
- 3 : ปกติดินเหนียวมีศักย์ไฟฟ้าที่ผิวเป็นลบ
- 4 : point of zero charge (PZC) คือ ค่า pH ที่ทำให้ผิวแร่ที่อยู่ในสารละลายมีประจุไฟฟ้าที่ผิวเป็นศูนย์
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 262 :
- จากทฤษฎี electrical double layer ค่า Zeta potential วัดที่ layer ใด
- 1 : เป็นศักย์ไฟฟ้าที่ผิวแร่
- 2 : เป็นศักย์ไฟฟ้าที่ Stern layer
- 3 : เป็นศักย์ไฟฟ้าที่ diffuse layer
- 4 : เป็นศักย์ไฟฟ้าที่ bulk solution
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 263 :
- ข้อใดไม่สามารถทำให้ค่า Zeta potential เปลี่ยนแปลง
- 1 :
- 2 :
- 3 : NaCl
- 4 : Oil
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 264 :
- ถ้าค่า pH (PZC) ของแร่ดีบุกเท่ากับ pH 4.8 แสดงว่าประจุที่ผิวแร่ดีบุกมีศักย์เป็นอย่างไร
- 1 : มีศักย์เป็นลบ
- 2 : มีศักย์เป็นบวก
- 3 : มีศักย์เป็นกลาง
- 4 : มีศักย์เป็นศูนย์
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 265 :
- ถ้าอนุภาคแร่ที่มีค่า pH (PZC) เท่ากับ pH 8 ใส่ลงไปในสารละลายที่มีค่า pH 8 และกวนพอควรพบว่า
- 1 : ค่า pH ที่วัดได้หลังจากการกวนมีค่าน้อยกว่า 8
- 2 : ค่า pH ที่วัดได้หลังการกวนมีค่ามากกว่า 8
- 3 : ค่า pH ที่วัดได้หลังการกวนมีค่าเท่ากับ 8
- 4 : ศักย์ไฟฟ้าที่วัดได้หลังการกวนเป็นบวก
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 266 :
- flocculant ที่ใช้ที่นิยม ได้แก่
- 1 : sodium silicate
- 2 : polyaeryamicles
- 3 : polygum
- 4 : starch
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 267 :
- วิธีประยุกต์กระบวนการ selective flocculation ในการแยกแร่ข้อใดเป็นไปได้
- 1 : แยกควอร์ตซ์ออกจากเฟลต์สปาร์
- 2 : แยกมัสโคไวต์ออกจากไบโอไทต์
- 3 : แยกถ่านหินออกจากขี้เถ้า
- 4 : แยกเซอร์คอนออกจากการ์เนต
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 268 :
- สิ่งใดที่ไม่ต้องการสำหรับกระบวนการ selective flocculation
- 1 : การกระจายของอนุภาคอย่างดี
- 2 : การใช้ selective flocculant
- 3 : การปรับ pH ที่เหมาะสม
- 4 : การกวนที่รุนแรง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
เนื้อหาวิชา : 482 : Solid-liquid separation:thickening,filtration and drying
ข้อที่ 269 :
- กระบวนการใด ที่ไม่เกี่ยวข้อง กับกระบวนการกำจัดน้ำ (Dewatering)
- 1 : Sedimentation
- 2 : Filtration
- 3 : Flocculation
- 4 : Desliming
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 270 :
- สภาวะใดที่อนุภาคของแข็งตกตะกอนได้ดี
- 1 : pH ต่ำๆ
- 2 : ศักย์ไฟฟ้าที่ผิวแร่เป็นศูนย์
- 3 : pH สูงๆ
- 4 : อนุภาคมีขนาดเล็ก
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 271 :
- คำกล่าวข้อใด ผิด
1. กระบวนการเกรอะให้ผลผลิตที่มีความเข้มข้น 80-90 % Solids
2. กระบวนการกรองให้ผลผลิตที่มีความเข้มข้น 55-65 % Solids
3. กระบวนการ Thermal drying ให้ผลผลิตที่มีความเข้มข้น 95 % Solids
4. กระบวนการ Flocculation ให้ผลผลิตที่มีความเข้มข้น 55-65 % Solids
5. ถ้าอนุภาคมีแนวโน้มเกิดแรงผลักกัน จะทำให้ตกตะกอนดีที่สุด
- 1 : 1, 2, 3
- 2 : 2, 3, 4
- 3 : 3, 4, 5
- 4 : 1, 2, 5
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 272 :
- ศักย์ไฟฟ้าใกล้ๆ บริเวณผิวแร่เมื่ออยู่ในสารละลาย เรียกว่าอะไร
- 1 : Point of zero charge
- 2 : Zeta potential
- 3 : Potential energy
- 4 : Beta potential
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 273 :
- คำกล่าวใด ผิด
- 1 : สารละลายด่าง จะต้องมีค่า pH > 7
- 2 : สารละลายกรด จะต้องมีความเข้มข้นไอออน [H+] สูง
- 3 : ดินขาวจะตกตะกอนได้ดีในสภาพสารละลายเป็นด่าง
- 4 : แร่ซิลิกา มีสภาพประจุที่ผิวเป็นลบเมื่ออยู่ในน้ำ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 274 :
- ในกรณีที่จะทำให้น้ำขุ่น เช่น น้ำคลอง ตกตะกอน ทำไมต้องแกว่งสารส้ม
- 1 : สารส้มมีโครงสร้างโมเลกุลยาวจึงช่วยตกตะกอน
- 2 : สารส้มเมื่อละลายน้ำทำให้น้ำมี pH ต่ำลง จึงตกตะกอนได้ดี
- 3 : สารส้มเมื่อละลายน้ำ จะแตกตัวเป็น Al3+ + OH- ไปเกาะผิวแร่ทำให้หนัก และตกตะกอนได้ง่าย
- 4 : สารส้มเมื่อละลายน้ำทำให้น้ำมีสภาพเป็นกลาง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 275 :
- สารเคมีข้อใดที่ ไม่มี สมบัติในการก่อกลุ่ม (flocculant)
- 1 : น้ำแป้ง (starch)
- 2 : เจลาติน
- 3 : โซเดียมเฮกซะเมตาฟอสเฟต
- 4 : พอลิอคริลาไมด์
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 276 :
- กราฟรูปใดที่มีความสำคัญต่อการคำนวณพื้นที่ถังเกรอะ (thickener)
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 :
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 277 :
- สิ่งใดที่ทำให้อัตราการกรองแยกอนุภาคออกจากน้ำได้ดีขึ้น
1. แรงหนีศูนย์กลาง
2. สุญญากาศ
3. ความดัน
4. เพิ่มปริมาตรของเครื่องกรอง
- 1 : 1, 2, 3
- 2 : 1, 2, 4
- 3 : 3, 4
- 4 : 2, 4
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 278 :
- ปัจจัยใด ไม่มีผลต่อการกรอง หรือต่ออัตราการกรอง
- 1 : พื้นที่ในการกรอง
- 2 : % Solids
- 3 : ความต้านทานการไหลของผ้ากรอง
- 4 : ความต้านทานการไหลของเค๊ก
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 279 :
- คำกล่าวใด ถูกต้อง
- 1 : ความดันลด (pressure drop) ทำให้อัตราการกรองลดลง
- 2 : การก่อกลุ่มตกตะกอน ทำให้กรองได้เร็วขึ้น
- 3 : ของเหลวที่มีความหนืดมากกรองได้ดีขึ้น
- 4 : การกระจายตัวของอนุภาคดีทำให้กรองได้ดีขึ้น
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 280 :
- เครื่องกรองชนิดใดที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก
- 1 : Filter press
- 2 : Belt filter
- 3 : Vacuum drum filter
- 4 : Disc Filter
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 281 :
- เครื่องอบแห้งชนิดใด เป็นเครื่องอบแห้งโดยอ้อม (indirect dryer)
- 1 : Steam tube rotary dryer
- 2 : Spray dryer
- 3 : Rotary Kiln
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 282 :
- คำกล่าวใด ไม่ถูกต้อง
1. การอบแห้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เพราะลดความชื้นลงน้อยที่สุด
2. ค่าใช้จ่ายในการอบแห้งขึ้นอยู่กับค่าขนส่ง
3. การอบแห้งทำให้ผิวของแร่ถูกออกซิไดซ์
4. กระบวนการอบแห้งส่วนใหญ่จะใช้เตาอบ (oven)
5. เตาจีนที่ใช้อบแห้งแร่เป็นชนิด indirect dryer
- 1 : 1, 2, 3
- 2 : 2, 3, 4
- 3 : 3, 4, 5
- 4 : 1, 3, 5
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 283 :
- กราฟข้อใด ผิด
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 : ไม่มีข้อผิด
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 284 :
- สิ่งที่จำเป็นสำหรับการเกรอะ Slurry ที่มีสภาพเป็นกรด คืออะไร
- 1 : ไม่ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ
- 2 : ต้องเจือจางด้วยน้ำก่อนเข้าถังเกรอะ
- 3 : ควรให้สัมผัสกับออกซิเจนก่อนเข้าสู่ถังเกรอะ
- 4 : ควรปรับสภาพให้เป็นกลางก่อนโดยการใช้ด่าง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 285 :
- จากรูป เป็นเครื่องกรองชนิดใด
- 1 : Rotary drum filter
- 2 : Belt filter
- 3 : Filter press
- 4 : Rotary-disc filters
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 286 :
- หลักปฏิบัติการของการเกรอะ (Thickening) อาศัย
- 1 : ความแตกต่างทางด้านแรงดันที่ทำให้อนุภาคของแข็งติดค้างอยู่บนตัวกรอง
- 2 : ความแตกต่างทางด้านความหนาแน่นของอนุภาคของแข็ง
- 3 : การระเหยของน้ำ
- 4 : การเกาะกลุ่มอนุภาคของแข็งผ่านสะพานพอลิเมอร์
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 287 :
- หลักปฏิบัติการของการทำให้แห้ง (Drying) อาศัย
- 1 : การเผาให้เป็นเถ้า
- 2 : การเจือจางด้วยน้ำ
- 3 : การระเหยของน้ำ
- 4 : ความแตกต่างทางด้านแรงดันที่ทำให้อนุภาคของแข็งติดค้างอยู่บนตัวกรอง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 288 :
- การทำถ่านหินที่ล้างสะอาดแล้วให้แห้ง (Drying) ยากมากเพราะว่า
- 1 : มีขนาดเล็ก
- 2 : มีความถ่วงจำเพาะต่ำ
- 3 : มีรูพรุนในโครงสร้างมาก
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 289 :
- ระบบการกรองของผสมแร่ผ่านผ้ากรองจัดเป็นปรากฏการณ์การเปียกผิวชนิดใด
- 1 : การเปียกแบบยึดติด (Adhesional Wetting)
- 2 : การเปียกแบบแผ่กระจาย (Spreading Wetting)
- 3 : การเปียกแบบรวมเข้าด้วยกัน (Immersional Wetting)
- 4 : การเปียกแบบซึมตามรูเล็ก (Capillary Wetting)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 290 :
- การกรองชนิดใดที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมน้ำที่มีความเข้มข้นของของผสมต่ำ
- 1 : Cake Filtration
- 2 : Deep Bed Filtation
- 3 : Medium Filtration
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 291 :
- การจับกลุ่มอนุภาค (Flocculation) ขนาดเล็กมีผลต่ออัตราการกรองเนื่องจาก
- 1 : อนุภาคมีขนาดใหญ่ขึ้น ช่วยลดการอุดตันของตัวกลางกรอง
- 2 : รูพรุนของกลุ่มอนุภาคใหญ่ขึ้นง่ายแก่การกรอง
- 3 : โครงสร้างกลุ่มอนุภาคแข็งแรงขึ้นง่ายแก่การกรอง
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 292 :
- กระบวนการจับทองคำด้วยถ่านกัมมันต์ของบริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดที่จังหวัดพิจิตรตรงกับข้อใด
- 1 : CIL
- 2 : CIP
- 3 : CIL&CIP
- 4 : CIC
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 293 :
- กระบวนการทองคำด้วยถ่านกัมมันต์ของบริษัททุ่งคำจำกัดที่จังหวัดเลยตรงกับข้อใด
- 1 : CIL
- 2 : CIP
- 3 : CIL&CIP
- 4 : CIC
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 294 :
- สภาพความเป็นกรดด่างในการละลายทองคำออกจากหินโดยโซเดียมไซยาไนด์ตรงกับข้อใด
- 1 : 2
- 2 : 4
- 3 : 6
- 4 : 10
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 295 :
- สภาพความเป็นกรดด่างในการละลายทองคำออกจากหินโดยโซเดียมไซยาไนด์นิยมใช้สารใดเป็นตัวควบคุม
- 1 : หินปูน
- 2 : ปูนขาว
- 3 : โซดาแอช
- 4 : โซดาไฟ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 296 :
- การลดความเข้มข้นโซเดียมไซยาไนด์ก่อนปล่อยทิ้งลงบ่อตกตะกอนนิยมใช้สารใดเป็นตัวควบคุม
- 1 : NaOH
- 2 : Na2CO3
- 3 : SMBS
- 4 : H2SO4
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 297 :
- วิธีใดที่ใช้เก็บโลหะทองคำออกจากสารละลายของบริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดที่จังหวัดพิจิตร
- 1 : Ion exchange
- 2 : Solvent extraction
- 3 : Chlorination
- 4 : Electrowinning
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 298 :
- วิธีใดที่ใช้เก็บโลหะทองคำออกจากสารละลายของบริษัททุ่งคำจำกัดที่จังหวัดเลย
- 1 : Ion exchange
- 2 : Solvent extraction
- 3 : Chlorination
- 4 : Electrowinning
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 299 :
- จากรูปจำนวนเครื่องย่อยแร่ของโรงงานแต่งแร่ทองคำ บริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดที่จังหวัดพิจิตรตรงกับข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 4
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 300 :
- จากรูปจำนวนเครื่องบดแร่ของโรงงานแต่งแร่ทองคำ บริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดที่จังหวัดพิจิตรตรงกับข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 4
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 301 :
- จากรูปเครื่องมือคัดขนาดแร่ทำงานร่วมเป็นวงจรปิดกับชุดบดละเอียดของโรงงานแต่งแร่ทองคำ บริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดที่จังหวัดพิจิตรตรงกับข้อใด
- 1 : Screen
- 2 : Cone classifier
- 3 : Hydrocyclone
- 4 : Spiral classifier
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 302 :
- จากรูป Trush screen ของโรงงานแต่งแร่ทองคำ บริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดที่จังหวัดพิจิตรทำหน้าที่ตรงกับข้อใด
- 1 : คัดแยกขยะเบาออก
- 2 : คัดแยกเม็ดหินออก
- 3 : คัดแยกเม็ดถ่านออก
- 4 : คัดแยกดินออก
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 303 :
- จากรูป Carbon safty screen ของโรงงานแต่งแร่ทองคำ บริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดที่จังหวัดพิจิตรทำหน้าที่ตรงกับข้อใด
- 1 : คัดแยกขยะเบาออก
- 2 : คัดแยกเม็ดหินออก
- 3 : คัดแยกเม็ดถ่านที่หลุดลอดกลับมาใช้
- 4 : คัดแยกเม็ดถ่านเพื่อสกัดทองออก
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 304 :
- จากรูป การเติม Oxygen ของโรงงานแต่งแร่ทองคำ บริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดที่จังหวัดพิจิตรทำหน้าที่ตรงกับข้อใด
- 1 : ไม่ให้น้ำเสีย
- 2 : ให้ทองคำละลายได้มากขึ้น
- 3 : ให้บรรยากาศการทำงานดีขึ้น
- 4 : ให้ถ่านดูดซับทองคำได้มากขึ้น
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 305 :
- จากรูป Leaching tank ของโรงงานแต่งแร่ทองคำ บริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดที่จังหวัดพิจิตรมีจำนวนตรงกับข้อใด
- 1 : 10
- 2 : 11
- 3 : 12
- 4 : 13
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 306 :
- จากรูป Acid wash column และ Elution column ของโรงงานแต่งแร่ทองคำ บริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดที่จังหวัดพิจิตรทำหน้าที่ตรงกับข้อใด
- 1 : ล้างไซยาไนด์ออกจากถ่าน
- 2 : ละลายทองคำออกจากถ่าน
- 3 : ล้างไซยาไนด์ออกจากทองคำ
- 4 : แยกทองคำออกจากสารละลาย
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 307 :
- จากรูป Electrowinning cell ของโรงงานแต่งแร่ทองคำ บริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดที่จังหวัดพิจิตรทำหน้าที่ตรงกับข้อใด
- 1 : ล้างไซยาไนด์ออกจากถ่าน
- 2 : ละลายทองคำออกจากถ่าน
- 3 : ล้างไซยาไนด์ออกจากทองคำ
- 4 : แยกทองคำออกจากสารละลาย
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 308 :
- จากรูป Carbon regeneration kiln ของโรงงานแต่งแร่ทองคำ บริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดที่จังหวัดพิจิตรทำหน้าที่ตรงกับข้อใด
- 1 : ล้างไซยาไนด์ออกจากถ่าน
- 2 : ละลายทองคำออกจากถ่าน
- 3 : ล้างไซยาไนด์ออกจากทองคำ
- 4 : เผาถ่านให้มีคุณสมบัติดูดซับทองคำใหม่
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 309 :
- จากรูป Cyanide reduction tank ของโรงงานแต่งแร่ทองคำ บริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดที่จังหวัดพิจิตรทำหน้าที่ตรงกับข้อใด
- 1 : ล้างไซยาไนด์ออกจากถ่าน
- 2 : ลดไซยาไนด์ในสารละลายกากแร่ก่อนทิ้ง
- 3 : ล้างไซยาไนด์ออกจากทองคำ
- 4 : ตกตะกอนโลหะหนักในสารละลายกากแร่ก่อนทิ้ง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 310 :
- จากรูป Metal precipitation tank ของโรงงานแต่งแร่ทองคำ บริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดที่จังหวัดพิจิตรทำหน้าที่ตรงกับข้อใด
- 1 : ล้างไซยาไนด์ออกจากถ่าน
- 2 : ลดไซยาไนด์ในสารละลายกากแร่ก่อนทิ้ง
- 3 : ล้างไซยาไนด์ออกจากทองคำ
- 4 : ตกตะกอนโลหะหนักในสารละลายกากแร่ก่อนทิ้ง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 311 :
- จากรูป %Au สูงสุด ของโรงงานแต่งแร่ทองคำ บริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดที่จังหวัดพิจิตร ตรงกับข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 4
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 312 :
- กระบวนการใดไม่ได้จัดอยู่ในกระบวนการ dewatering
- 1 : thickening
- 2 : filtration
- 3 : thermal drying
- 4 : elutriation
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 313 :
- หลักการของการเกรอะ (thickening) คือข้อใด
- 1 : sedimentation
- 2 : jigging
- 3 : flowing of solid
- 4 : classification
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 314 :
- เครื่องมือชนิดใดที่ใช้กำจัดน้ำด้วยต้นทุนที่ต่ำสุด
- 1 : thickener
- 2 : filter
- 3 : spray dryer
- 4 : rotary dryer
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 315 :
- ในการออกแบบังเกรอะจะใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ใด
- 1 : Kynch model
- 2 : Newton model
- 3 : Isac mode
- 4 : Curie model
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
เนื้อหาวิชา : 483 : Chemical processing of minerals
ข้อที่ 316 :
- ปฏิกิริยาที่แสดงดังต่อไปนี้ PbCO3 = PbO + CO2 (g) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกรรมวิธีอะไร
- 1 : การเผาให้เป็นเถ้า (Calcination)
- 2 : การย่าง (Roasting)
- 3 : การเผาให้เป็นก้อน (Sintering)
- 4 : การถลุงโลหะ (Smelting)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 317 :
- ปฏิกิริยาที่แสดงดังต่อไปนี้ 2 PbS + 3 O2 = 2 PbO + 2 SO2 เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกรรมวิธีอะไร
- 1 : การเผาให้เป็นเถ้า (Calcination)
- 2 : การย่าง (Roasting)
- 3 : การเผาให้เป็นก้อน (Sintering)
- 4 : การถลุงโลหะ (Smelting)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 318 :
- ปฏิกิริยาที่แสดงดังต่อไปนี้ 4 Au + 8 CN - + O2 + 2 H2O = 4 Au(CN)2- + 4 OH- เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกรรมวิธีอะไร
- 1 : การละลาย (Dissolution or Leaching)
- 2 : การตกตะกอน (Precipitation)
- 3 : การสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent Extraction)
- 4 : การแยกสลายด้วยไฟฟ้า (Electrolysis)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 319 :
- ปฏิกิริยาที่แสดงดังต่อไปนี้ 2 Au(CN)2- + Zn = Zn(CN)42- + 2 Au เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกรรมวิธีอะไร
- 1 : การละลาย (Dissolution or Leaching)
- 2 : การตกตะกอน (Precipitation)
- 3 : การสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent Extraction)
- 4 : การดูดซับ (Adsorption)
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 320 :
- ข้อใด ไม่ใช้ ในการละลายแร่
- 1 : เกลือ
- 2 : น้ำ
- 3 : กรด
- 4 : ด่าง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 321 :
- การสังเคราะห์ MgO (แมกนีเซียม) จากน้ำทะเล จะใช้วิธีใด
- 1 : เติม Ca (OH)2 ในน้ำทะเลที่มี MgCl2 แล้วนำไปเผาที่อุณหภูมิประมาณ 500 oC
- 2 : ต้มน้ำทะเลที่อุณหภูมิ 100oC เป็นเวลานานๆ
- 3 : เติมเมทานอล ลงไปในน้ำทะเลที่มี MgCl2 แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 100 oC
- 4 : เติมโลหะอะลูมิเนียมลงไปในน้ำทะเล แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 400oC
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 322 :
- การสังเคราะห์ Al2O3 (อะลูมินา) จากแร่บ๊อกไซต์ ด้วยกระบวนการ Bayer จะใช้สารเคมีใดละลายแร่
- 1 : น้ำ
- 2 : โซเดียมซิลิเกต
- 3 : โซดาไฟ
- 4 : ไลม์
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 323 :
- วิธีใดที่ไม่ใช่วิธีเก็บโลหะมีค่าออกจากสารละลาย
- 1 : Ion exchange
- 2 : Solven extraction
- 3 : Chlorination
- 4 : Cyanidation
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 324 :
- แหล่งแร่เกลือหินในภาคอีสานของประเทศไทย มีแร่ที่สำคัญ คือ NaCl, MgCl2 และ KCl ท่านคิดว่าจะใช้วิธีไหนในการแต่งแร่ จึงจะเหมาะสม
- 1 : Electrostatic separator
- 2 : Flotation
- 3 : Magnetic separation
- 4 : Jig
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 325 :
- หลักปฏิบัติการของการละลาย (Dissolution or Leaching) อาศัย
- 1 : ความแตกต่างทางด้านความสามารถที่จะตกตะกอน
- 2 : ความแตกต่างทางด้านการไม่เปียกน้ำของผิวอนุภาคแร่ เพื่อนแร่ และ มลทินอื่น ๆ
- 3 : ความแตกต่างทางด้านความสามารถที่จะละลาย
- 4 : อาศัย การเจือจางด้วยน้ำ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 326 :
- หลักปฏิบัติการของการตกตะกอน(Precipitation) อาศัย
- 1 : การก่อเกิดสารประกอบเชิงซ้อนหรือคู่ไอออนบนผิวเรซิน
- 2 : การก่อเกิดสารประกอบเชิงซ้อนบนผิวตัวดูดซับ
- 3 : ความแตกต่างทางด้านการไม่เปียกน้ำของผิวอนุภาคแร่ เพื่อนแร่ และ มลทินอื่น ๆ
- 4 : ความแตกต่างทางด้านความสามารถที่จะตกตะกอน
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 327 :
- หลักปฏิบัติการของการสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent Extraction) อาศัย
- 1 : การก่อเกิดสารประกอบเชิงซ้อนหรือคู่ไอออนบนผิวเรซิน
- 2 : ความสามารถที่จะละลายในสารอินทรีย์ของโลหะ
- 3 : การก่อเกิดสารประกอบเชิงซ้อนบนผิวตัวดูดซับ
- 4 : การเกิดปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 328 :
- หลักปฏิบัติการของการแลกเปลี่ยนไอออน (Ion Exchange) อาศัย
- 1 : การก่อเกิดสารประกอบเชิงซ้อนบนผิวตัวดูดซับ
- 2 : การเกิดปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี
- 3 : ความแตกต่างทางด้านความสามารถที่จะละลายในสารอินทรีย์ของโลหะ
- 4 : การก่อเกิดสารประกอบเชิงซ้อนหรือคู่ไอออนบนผิวเรซิน
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 329 :
- หลักปฏิบัติการของการดูดซับ (Adsorption) อาศัย
- 1 : การก่อเกิดสารประกอบเชิงซ้อนหรือคู่ไอออนบนผิวเรซิน
- 2 : การก่อเกิดสารประกอบเชิงซ้อนบนผิวตัวดูดซับ
- 3 : ความแตกต่างทางด้านความสามารถที่จะละลายในสารอินทรีย์ของโลหะ
- 4 : การเกิดปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 330 :
- แร่หรือวัสดุชนิดใดที่มี พลังงานผิวอิสระ (free surface energy) มากที่สุด
- 1 : แร่ซัลไฟด์
- 2 : แร่ซิลิเกต
- 3 : แกรไฟต์ ถ่านหิน
- 4 : พลาสติก
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 331 :
- สารเคลือบผิวที่ให้ประจุบวกเมื่อละลายแตกตัวในน้ำ (cationic collector) กลุ่มอามีนใช้กับ
- 1 : แร่เฟลด์สปาร์
- 2 : แร่สังกะสีซิลิเกต
- 3 : แร่ไมก้า
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 332 :
- สารเคมีปรับสภาพผิว (activator) การลอยแร่เฟลด์สปาร์ออกจากควอร์ต
- 1 : H2SO4
- 2 : HF
- 3 : HCL
- 4 : CH3COOH
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 333 :
- ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง เกี่ยวกับมุมสัมผัสในการลอยแร่
- 1 : zeta = 0 แสดงว่า แร่เปียกน้ำโดยสิ้นเชิง ไม่เกิดการลอยแร่
- 2 : zeta = 180 แสดงว่า เม็ดแร่เกาะกับฟองอากาศเท่านั้น
- 3 : zeta < 90 แสดงว่า เป็นวัสดุมีแนวโน้มเปียกน้ำง่าย
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 334 :
- ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง เกี่ยวกับกลไกการลอยแร่
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 335 :
- ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง เกี่ยวกับวงจรการบดซ้ำในวงจรการลอย
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 336 :
- การลอยแร่ฟลูออไรต์ มีอัตราแร่ป้อน 15 ตันต่อชั่วโมง ควบคุมความเข้มข้นที่ 30% solid ปริมาตรสุทธิถังกวนผสมน้ำยา 3.4 ลบ.เมตร และ ถพ.แร่ป้อนเฉลี่ย 2.9 ให้คำนวณหาเวลาที่อยู่ในถังกวนกี่นาที
- 1 : 1
- 2 : 3
- 3 : 5
- 4 : 10
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 337 :
- การขัดผิวทรายแก้วชั้นล่างที่โรงล้างทรายจังหวัดระยอง มีอัตราแร่ป้อน 40 ตันต่อชั่วโมง ควบคุมความเข้มข้นที่ 75% solid ปริมาตรสุทธิถังเซลขัดผิว 1.5 ลบ.เมตร 6 เซล และ ถพ.ทรายแก้วเฉลี่ย 2.65 ให้คำนวณหาเวลาที่อยู่ในถังเซลขัดผิวเป็นนาทีใกล้เคียงข้อใด
- 1 : 10
- 2 : 20
- 3 : 30
- 4 : 40
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 338 :
- การลอยแร่สังกะสีซิลิเกตที่อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก มีอัตราแร่ป้อน 30 ตันต่อชั่วโมง ควบคุมความเข้มข้นที่ 40% solid ปริมาตรสุทธิถังกวนผสมน้ำยา 8 ลบ.เมตร จำนวน 8 ใบ และ ถพ.แร่ป้อนเฉลี่ย 2.57 ให้คำนวณหาเวลาที่อยู่ในถังกวนเป็นนาทีใกล้เคียงข้อใด
- 1 : 5
- 2 : 10
- 3 : 50
- 4 : 70
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 339 :
- เครื่องมือในรูปของโรงงานลอยแร่สังกะสีซิลิเกตที่อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก ใกล้เคียงข้อใด
- 1 : Conditioner
- 2 : Flotation cell
- 3 : Sump
- 4 : Thickener
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 340 :
- เครื่องมือในรูปของโรงงานลอยแร่สังกะสีซิลิเกตที่อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก ใกล้เคียงข้อใด
- 1 : Conditioner
- 2 : Flotation cell
- 3 : Sump
- 4 : Thickener
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 341 :
- เครื่องมือในรูปของโรงงานลอยแร่สังกะสีซิลิเกตที่อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก ใกล้เคียงข้อใด
- 1 : Ball mill
- 2 : Trommel
- 3 : Washing drum
- 4 : Rotary dryer
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 342 :
- เครื่องมือในรูปของโรงงานลอยแร่สังกะสีซิลิเกตที่อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก ใกล้เคียงข้อใด
- 1 : Ball mill
- 2 : Trommel
- 3 : Washing drum
- 4 : Rotary dryer
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 343 :
- เครื่องมือในรูปของโรงงานลอยแร่สังกะสีซิลิเกตที่อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก ใกล้เคียงข้อใด
- 1 : Air cyclone
- 2 : Hydrocyclone
- 3 : Hydroziser
- 4 : Cone classifier
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 344 :
- เครื่องมือในรูปของโรงงานลอยแร่สังกะสีซิลิเกตที่อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก ใกล้เคียงข้อใด
- 1 : Sump
- 2 : Slurry pump
- 3 : Ball mill
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 345 :
- การลอยแร่สังกะสีซิลิเกตที่อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก แร่ป้อน 6.4% Zn , หัวแร่ 42% Zn และ หางแร่ 0.4% Zn คำนวณ %Zn recoveryใกล้เคียงข้อใด
- 1 : 70
- 2 : 80
- 3 : 90
- 4 : 100
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 346 :
- การลอยแร่สังกะสีซิลิเกตที่อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก แร่ป้อน 6.4% Zn , หัวแร่ 42% Zn และ หางแร่ 0.4% Zn คำนวณ %Yield ใกล้เคียงข้อใด
- 1 : 7
- 2 : 14
- 3 : 80
- 4 : 90
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 347 :
- การลอยแร่ไมก้าออกจากแร่เฟลด์สปาร์ที่จังหวัดตาก มีอัตราแร่ป้อน 8 ตันต่อชั่วโมง ควบคุมความเข้มข้นที่ 30% solid ปริมาตรสุทธิเซลลอยแร่ 1 ลบ.เมตร 3 ใบ และ ถพ.แร่ป้อนเฉลี่ย 2.7 ให้คำนวณหาเวลาที่อยู่ในถังเซลลอยแร่ เป็นนาที กำหนดให้ปริมาตรฟองอากาศในเซลลอยแร่ 15% ของปริมาตรสุทธิเซลลอยแร่
- 1 : 5
- 2 : 7
- 3 : 10
- 4 : 14
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 348 :
- เครื่องมือในรูปของเซลลอยแร่สังกะสีทำหน้าที่ตรงกับข้อใด
- 1 : ปรับระดับน้ำในเซล
- 2 : ปรับความหนาชั้นฟอง
- 3 : ปรับช่องเปิด sand hole
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 349 :
- เครื่องมือในรูปของเซลลอยแร่สังกะสีทำหน้าที่ตรงกับข้อใด
- 1 : ดึงอากาศเข้าเซลลอยแร่
- 2 : สร้างแรงดูด slurry เข้าเซลลอยแร่
- 3 : ทำให้แร่กระจายตัวสัมผัสอากาศมากขึ้น
- 4 : ถูกทุกข้อ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 350 :
- เครื่องมือในรูป โรงงานลอยแร่ฟลูออไรต์ทางเหนือของไทย มีจำนวนเครื่องย่อยแร่ตรงข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 4
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 351 :
- เครื่องมือในรูป โรงงานลอยแร่ฟลูออไรต์ทางเหนือของไทย มีจำนวนเครื่องบดแร่ตรงข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 4
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 352 :
- เครื่องมือในรูป โรงงานลอยแร่ฟลูออไรต์ทางเหนือของไทย มีจำนวนเครื่องคัดขนาดตรงข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 4
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 353 :
- เครื่องมือในรูป โรงงานลอยแร่ฟลูออไรต์ทางเหนือของไทย มีจำนวนเซลลอยแร่ชุด Rougherตรงข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 5
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 354 :
- เครื่องมือในรูป โรงงานลอยแร่ฟลูออไรต์ทางเหนือของไทย มีจำนวนเซลลอยแร่ชุด Scavenger ตรงข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 5
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 355 :
- เครื่องมือในรูป โรงงานลอยแร่ฟลูออไรต์ทางเหนือของไทย มีจำนวนเซลลอยแร่ชุด 1 st cleaner ตรงข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 5
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 356 :
- เครื่องมือในรูป โรงงานลอยแร่ฟลูออไรต์ทางเหนือของไทย มีจำนวนเซลลอยแร่ชุด 2nd cleaner ตรงข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 5
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 357 :
- เครื่องมือในรูป โรงงานลอยแร่ฟลูออไรต์ทางเหนือของไทย มีจำนวนเซลลอยแร่ชุด 3rd cleaner ตรงข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 5
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 358 :
- เครื่องมือในรูป โรงงานลอยแร่ฟลูออไรต์ทางเหนือของไทย มีจำนวนเซลลอยแร่ชุด 4th cleaner ตรงข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 5
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 359 :
- เครื่องมือในรูป โรงงานลอยแร่ฟลูออไรต์ทางเหนือของไทย มีจำนวนเซลลอยแร่ชุด 5th cleaner ตรงข้อใด
- 1 : 1
- 2 : 2
- 3 : 3
- 4 : 5
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
เนื้อหาวิชา : 484 : Construction of complex flow sheets for mineral processing plants
ข้อที่ 360 :
- ุีจาก Flowsheet การแต่งแร่ หมายเลข (1) คือ เครื่องมือชนิดใด
- 1 : Rod mill
- 2 : Cyclone
- 3 : Shaking table
- 4 : Cone crusher
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 361 :
- จาก Flowsheet เป็นวงจรการบดแร่แบบใด
- 1 : วงจรแบบปิด
- 2 : วงจรแบบเปิด
- 3 : วงจรแบบบดซ้ำ
- 4 : วงจรการบดแร่แบบไม่ต่อเนื่อง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 362 :
- ข้อใดเป็นคำกล่าวที่ผิด
- 1 : ข้อเสียของการบดให้ได้ขนาดแร่ละเอียดที่ต้องการในขั้นตอนเดียว จะต้องใช้ลูกบอลขนาดใหญ่ เพื่อบดแร่ที่หยาบกว่าปกติ ซึ่งลูกบอลขนาดใหญ่ไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะบดอนุภาคละเอียดได้พอ
- 2 : ข้อดีของการบดแร่ให้ละเอียดในขั้นตอนเดียว คือ จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการบดลงได้
- 3 : ข้อดีของการบดแร่ให้ละเอียดในขั้นตอนเดียว คือ จะสามารถควบคุมอัตโนมัติได้ง่าย
- 4 : ข้อดีของการบดแร่ในขั้นตอนเดียว คือ ได้ขนาดอนุภาคที่ละเอียดมาก
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 363 :
- จากวงจรการลอยแร่ตามรูป เหตุผลข้อใดที่ต้องเพิ่ม Scavengers ในวงจร
- 1 : เพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์การเก็บแร่ได้
- 2 : เพื่อลอยแร่ให้ได้หัวแร่สะอาดมากขึ้น
- 3 : เพื่อเพิ่ม Capacity ของเครื่องลอยแร่
- 4 : เพราะที่ทั้ง Tailing ไม่เพียงพอ
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 364 :
- จากวงจรการลอยแร่ดังรูป จงระบุชุดเครื่องลอยแร่หมายเลข (1)
- 1 : Rouhgers
- 2 : Scavengers
- 3 : Cleaners
- 4 : Re - cleaners
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 365 :
- จากวงจรการลอยแร่ดังรูป จงระบุชุดเครื่องลอยแร่ หมายเลข (2)
- 1 : Rouhgers
- 2 : Scavengers
- 3 : Cleaners
- 4 : Re - cleaners
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 366 :
- จากวงจรการลอยแร่ดังรูป จงระบุชุดเครื่องลอยแร่ หมายเลข (3)
- 1 : Rouhgers
- 2 : Scavengers
- 3 : Cleaners
- 4 : Re - cleaners
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 367 :
- จากวงจรการลอยแร่ดังรูป จงระบุชุดเครื่องลอยแร่ หมายเลข (4)
- 1 : Rouhgers
- 2 : Scavengers
- 3 : Cleaners
- 4 : Re - cleaners
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 368 :
- จากวงจรการ Regrinding ข้อใดที่ไม่ใช่เหตุผลที่ถูกต้อง
- 1 : ช่วยลดพลังงานในการบดลงได้
- 2 : ลดการเกิด Over grinding
- 3 : ทำให้สามารถลอยแร่บางชนิดที่ลอยก็ต่อเมื่อขนาดอนุภาคต้องมีขนาดใหญ่ได้
- 4 : ช่วยลดปริมาณแร่ทิ้ง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 369 :
- จาก Recovery-grade curve ถ้าหากตลาดแร่มีราคาแร่ต่ำ เราจะสามารถนิยามตามความ สัมพันธ์ใด เหมาะสมที่สุด (กำไรสูงสุด)
- 1 : Low price, high grade, high recovery
- 2 : Low price, high grade, low recovery
- 3 : Low price, low grade, low recovery
- 4 : Low price, low grade, high recovery
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 370 :
- โรงแต่งแร่ดีบุกโรงหนึ่งมีแร่ป้อน 1.2 % Sn มีเกรดของหัวแร่ 30 % Sn มี Recovery 75 % โรงแต่งแร่โรงนี้มีประสิทธิภาพในการแยก (separation efficiency) เท่าไร
(กำหนด m = 78.6 % Sn , ประสิทธิภาพของการแยก ,
S.E. = 100 C m (c - f) / f (m - f) C = ปริมาณหัวแร่ , c = เกรดของหัวแร่
และ f = เกรดของแร่ป้อน)
- 1 : 56.6 %
- 2 : 100 %
- 3 : 87.7 %
- 4 : 73.1 %
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 371 :
- ป้อนแร่เกรด 0.75 % Zn สามารถผลิตแร่ได้ 32 % Zn มีหางแร่ 0.11 % Zn ถามว่า Recovery และ Ratio of concentration มีค่าประมาณเท่าไร ตามลำดับ
- 1 : 72.25 % , 32.25
- 2 : 85.63 % , 42.67
- 3 : 90.01 % , 21.25
- 4 : 65.66 % , 31.50
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 372 :
- ข้อใดที่ใช้ในการพิจารณาประสิทธิภาพของการแต่งแร่
- 1 : การทำให้แร่และมลทินแตกตัวเป็นอิสระ
- 2 : ราคาของแร่ที่มีค่า
- 3 : การกระจายตัวของแร่
- 4 : ข้อ ก. และ ข. ถูก
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 373 :
- จากกราฟที่กำหนดความสัมพันธ์ของค่าต่างๆ จงพิจารณาข้อใดถูกต้องมากที่สุด ในฐานะวิศวกรควบคุมโรงแต่งแห่งหนึ่ง
1.การแต่งแร่เกรดสูง ให้ Recovery ต่ำ ทำให้ค่าขนส่งลดลง
2.การแต่งแร่เกรดต่ำเป็นการเพิ่มมูลค่าเงินที่ได้ แต่ค่าขนส่งกับค่าTreatment สูงขึ้น
3.การแต่งแร่เกรดสูง ให้Recoveryสูง จึงทำให้ค่าขนส่งลดลง
4.การแต่งแร่เกรดต่ำเป็นการเพิ่มมูลค่าเงินที่ได้ และค่าขนส่งกับ treatment ต่ำลง
- 1 : 1, 4
- 2 : 2, 3
- 3 : 3, 4
- 4 : 1, 2
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 374 :
- จากกราฟมีความหมายว่าอย่างไร
หมายเหตุ NSR = Net smelter return (Bahts/ton of Concentrate)
- 1 : ราคาสูง เกรดสูง Recovery สูง
- 2 : ราคาสูง เกรดต่ำ Recovery สูง
- 3 : ราคาสูง เกรดสูง Recovery ต่ำ
- 4 : ราคาต่ำ เกรดต่ำ Recovery สูง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 375 :
- จากแผนภูมิการลอยแร่ตะกั่ว-สังกะสี คำนวณเปอร์เซ็นต์ตะกั่วที่แยกเก็บได้ในหัวแร่ตะกั่ว
- 1 : 86.17
- 2 : 93.61
- 3 : 95.46
- 4 : 96.28
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 376 :
- จากแผนภูมิการลอยแร่ตะกั่ว-สังกะสี คำนวณเปอร์เซ็นต์สังกะสีที่แยกเก็บได้ในหัวแร่สังกะสี
- 1 : 86.17
- 2 : 93.61
- 3 : 95.46
- 4 : 96.28
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 377 :
- จากแผนภูมิการลอยแร่ตะกั่ว-สังกะสี คำนวณเปอร์เซ็นต์สังกะสีที่สูญเสียไปกับหัวแร่ตะกั่ว
- 1 : 3.72
- 2 : 4.54
- 3 : 6.39
- 4 : 7.44
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 378 :
- จากแผนภูมิการลอยแร่ตะกั่ว-สังกะสี คำนวณเปอร์เซ็นต์สังกะสีที่สูญเสียไปกับหางแร่สังกะสี
- 1 : 3.72
- 2 : 4.54
- 3 : 6.39
- 4 : 7.44
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 379 :
- จากแผนภูมิการลอยแร่ตะกั่ว-สังกะสี คำนวณเปอร์เซ็นต์ตะกั่วที่สูญเสียไปกับหางแร่สังกะสี
- 1 : 3.72
- 2 : 4.54
- 3 : 6.39
- 4 : 7.44
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 380 :
- จากแผนภูมิการลอยแร่ตะกั่ว-สังกะสี คำนวณสัดส่วนการแยกเก็บแร่ตะกั่ว
- 1 : 11.50
- 2 : 13.17
- 3 : 15.18
- 4 : 17.39
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 381 :
- จากแผนภูมิการลอยแร่ตะกั่ว-สังกะสี คำนวณสัดส่วนการแยกเก็บแร่สังกะสี
- 1 : 11.50
- 2 : 13.17
- 3 : 15.18
- 4 : 17.39
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 382 :
- กำหนดให้ความหนาแน่นสัมพัทธ์ของของแข็งและของผสม = 2.7 และ 1.2 ตามลำดับ และ อัตราการไหลของของผสมที่ป้อนเข้าสู่ชุดเซลล์ลอยแร่ = 950 GPM จงคำนวณความเข้มข้นของของผสมโดยน้ำหนัก หมายเหตุ 1 ตันสั้น (Short Ton) = 2,000 ปอนด์ = 907.18 กิโลกรัม = 0.907 เมตริกตัน 1 ยู เอส แกลลอน (US Gallon) = 0.1337 ลูกบาศก์ฟุต = 3.785 ลิตร ความหนาแน่นของน้ำ = 1.0 กรัม / มิลลิลิตร หรือ 8.33 ปอนด์ / แกลลอน
- 1 : 11.8%
- 2 : 13.2%
- 3 : 15.2%
- 4 : 26.5%
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 383 :
- กำหนดให้ความหนาแน่นสัมพัทธ์ของของแข็งและของผสม = 2.7 และ 1.2 ตามลำดับ และ อัตราการไหลของของผสมที่ป้อนเข้าสู่ชุดเซลล์ลอยแร่ = 950 GPM จงคำนวณความเข้มข้นของของผสมโดยปริมาตร หมายเหตุ 1 ตันสั้น (Short Ton) = 2,000 ปอนด์ = 907.18 กิโลกรัม = 0.907 เมตริกตัน 1 ยู เอส แกลลอน (US Gallon) = 0.1337 ลูกบาศก์ฟุต = 3.785 ลิตร ความหนาแน่นของน้ำ = 1.0 กรัม / มิลลิลิตร หรือ 8.33 ปอนด์ / แกลลอน
- 1 : 11.8%
- 2 : 13.2%
- 3 : 15.2%
- 4 : 26.5%
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 384 :
- กำหนดให้ความหนาแน่นสัมพัทธ์ของของแข็งและของผสม = 2.7 และ 1.2 ตามลำดับ และ อัตราการไหลของของผสมที่ป้อนเข้าสู่ชุดเซลล์ลอยแร่ = 950 GPM จงคำนวณอัตราการไหลของแร่ป้อนเชิงมวล (tph) หมายเหตุ 1 ตันสั้น (Short Ton) = 2,000 ปอนด์ = 907.18 กิโลกรัม = 0.907 เมตริกตัน 1 ยู เอส แกลลอน (US Gallon) = 0.1337 ลูกบาศก์ฟุต = 3.785 ลิตร ความหนาแน่นของน้ำ = 1.0 กรัม / มิลลิลิตร หรือ 8.33 ปอนด์ / แกลลอน
- 1 : 76
- 2 : 112
- 3 : 302
- 4 : 838
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 385 :
- กำหนดให้ความหนาแน่นสัมพัทธ์ของของแข็งและของผสม = 2.7 และ 1.2 ตามลำดับ และ อัตราการไหลของของผสมที่ป้อนเข้าสู่ชุดเซลล์ลอยแร่ = 950 GPM จงคำนวณอัตราการไหลของแร่ป้อนเชิงปริมาตร (GPM) 1 ตันสั้น (Short Ton) = 2,000 ปอนด์ = 907.18 กิโลกรัม = 0.907 เมตริกตัน 1 ยู เอส แกลลอน (US Gallon) = 0.1337 ลูกบาศก์ฟุต = 3.785 ลิตร ความหนาแน่นของน้ำ = 1.0 กรัม / มิลลิลิตร หรือ 8.33 ปอนด์ / แกลลอน
- 1 : 76
- 2 : 112
- 3 : 302
- 4 : 838
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 386 :
- กำหนดให้ความหนาแน่นของแร่ = 2.7 g/cm3 มวลของของผสม = 1140 g และปริมาตรของของผสม = 950 cm3 (หรือ ml) ที่ป้อนเข้าสู่เซลล์ลอยแร่หนึ่ง ๆ จงคำนวณหาความเข้มข้นของของผสมโดยน้ำหนัก
- 1 : 11.8%
- 2 : 13.2%
- 3 : 15.2%
- 4 : 26.5%
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 387 :
- กำหนดให้ความหนาแน่นของแร่ = 2.7 g/cm3 มวลของของผสม = 1140 g และปริมาตรของของผสม = 950 cm3 (หรือ ml) ที่ป้อนเข้าสู่เซลล์ลอยแร่หนึ่ง ๆ จงคำนวณหาความเข้มข้นของของผสมโดยปริมาตร
- 1 : 11.8%
- 2 : 13.2%
- 3 : 15.2%
- 4 : 26.5%
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 388 :
- กำหนดให้ความหนาแน่นของแร่ = 2.7 g/cm3 มวลของของผสม = 1140 g และปริมาตรของของผสม = 950 cm3 (หรือ ml) ที่ป้อนเข้าสู่เซลล์ลอยแร่หนึ่ง ๆ จงคำนวณหาความหนาแน่นของของผสม
- 1 : 1.1
- 2 : 1.2
- 3 : 1.3
- 4 : 1.4
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 389 :
- กำหนดให้ความหนาแน่นของแร่ = 2.7 g/cm3 มวลของของผสม = 1140 g และปริมาตรของของผสม = 950 cm3 (หรือ ml) ที่ป้อนเข้าสู่เซลล์ลอยแร่หนึ่ง ๆ จงคำนวณหามวลของแร่ป้อน (g)
- 1 : 76
- 2 : 112
- 3 : 302
- 4 : 838
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 390 :
- กำหนดให้ความหนาแน่นของแร่ = 2.7 g/cm3 มวลของของผสม = 1140 g และปริมาตรของของผสม = 950 cm3 (หรือ ml) ที่ป้อนเข้าสู่เซลล์ลอยแร่หนึ่ง ๆ จงคำนวณหาปริมาตรของแร่ป้อน (g)
- 1 : 76
- 2 : 112
- 3 : 302
- 4 : 838
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 391 :
- จากกราฟข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
- 1 : ราคาแร่สูงแต่เกรดต่ำ Recovery สูง
- 2 : ราคาแร่ต่ำแต่เกรดสูง Recovery ต่ำ
- 3 : ข้อ 1. และ 2. ถูก
- 4 : ราคาแร่สูงเกรดสูง Recovery สูง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 392 :
- ข้อใดคือ กราฟแสดงความสัมพันธ์ของ Recovery กับ Grade of concentration
- 1 :
- 2 :
- 3 :
- 4 :
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 393 :
- เหตุผลของการวิเคราะห์ NSR (Net Smelter Return) จะทำให้ทราบถึงสิ่งใด
- 1 : Grade
- 2 : Assay
- 3 : Price of value minerals
- 4 : Optimum grade
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 394 :
- ข้อใดที่ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของการแต่งแร่ทางเศรษฐศาสตร์
- 1 : Liberation
- 2 : Relation of grade and recovery
- 3 : Price of value minerals
- 4 : Ore reserve
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 395 :
- คำกล่าวความสัมพันธ์ระหว่างราคาแร่หรือโลหะกับ Concentrate grade และ Recovery ข้อใดถูก
- 1 : ถ้าราคาแร่ต่ำ เกรดหัวแร่ที่แต่งต้องต่ำ
- 2 : ถ้าราคาแร่สูง เกรดหัวแร่ที่แต่งต้องต่ำ
- 3 : ถ้าราคาแร่ต่ำ Recovery หัวแร่ที่แต่งต้องสูง
- 4 : ถ้าราคาแร่สูง Recovery หัวแร่ที่แต่งต้องสูง
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 396 :
- ในการแต่งแร่ตะกั่ว มีแร่ป้อน 0.5 % Pb แต่งได้หัวแร่ตะกั่ว 65 % Pb ที่ recovery 65 % จงหาประสิทธิภาพการแยกแร่ ถ้า Pb = 207, S = 32
- 1 : 94.56 %
- 2 : 74.87 %
- 3 : 64.87 %
- 4 : 94.88 %
- คำตอบที่ถูกต้อง : 3
ข้อที่ 397 :
- ในการแต่งแร่ตะกั่ว มีแร่ป้อน 0.5 % Pb แต่งได้หัวแร่ตะกั่ว 65 % Pb ที่ recovery 65 % ถ้า Pb = 207, S = 32 จงหา Economic efficiency ถ้าราคาโลหะตะกั่ว 2,000 baht/t ค่า treatment 400 baht/t ของหัวแร่ และค่าขนส่ง 200 baht/t ของหัวแร่
- 1 : 84.77
- 2 : 53.3
- 3 : 65.33
- 4 : 71.88
- คำตอบที่ถูกต้อง : 2
ข้อที่ 398 :
- ในการแต่งแร่ดีบุก แร่ป้อนเกรด 1 % Sn เมื่อแต่งแร่แล้ว มีเกรด และ Recovery ให้เลือก 3 เกรด ดังนี้ เกรด A 73 % Sn ที่ recovery 62 % เกรด B 56 % Sn ที่ recovery 72 % เกรด C 38 % Sn ที่ recovery 84 % เกรด D 21 % Sn ที่ recovery 90 % ข้อใดมีค่าประสิทธิภาพของการแยกต่ำที่สุด
- 1 : เกรด A
- 2 : เกรด B
- 3 : เกรด C
- 4 : เกรด D
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1
ข้อที่ 399 :
- ในการแต่งแร่ดีบุก แร่ป้อนเกรด 1 % Sn เมื่อแต่งแร่แล้วหัวแร่มีเกรด และ Recovery ให้เลือก 4 เกรด ดังนี้ เกรด A 73 % Sn ที่ Recovery 62 % เกรด B 56 % Sn ที่ Recovery 72 % เกรด C 38 % Sn ที่ Recovery 84 % เกรด D 21 % Sn ที่ Recovery 90 % เราควรเลือกแต่งแร่ เกรดใดให้ได้หัวแร่ที่ทำให้มีประสิทธิภาพการแยกมากที่สุด
- 1 : เกรด A
- 2 : เกรด B
- 3 : เกรด C
- 4 : เกรด D
- คำตอบที่ถูกต้อง : 4
ข้อที่ 400 :
- NSR คือ อะไรและขึ้นอยู่กับสิ่งใด
- 1 : มูลค่าที่เขาจะได้รับจากสินแร่หลังจากหักค่าถลุงหรือค่าขนส่ง
- 2 : ประสิทธิภาพการแยกแร่
- 3 : ค่าประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์
- 4 : อัตราส่วนระหว่างความเข้มข้นของหัวแร่
- คำตอบที่ถูกต้อง : 1